ค้นเจอ 59 รายการ

แก้บน

หมายถึงก. เซ่นสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามที่ตนได้บนบานไว้, ใช้บน ก็ว่า.

ยัญ,ยัญ-,ยัญญะ

หมายถึง[ยันยะ-] น. การเซ่น, การบูชา, การเซ่นสรวงโดยมีการฆ่าสัตว์หรือคนเป็นเครื่องบูชาเรียกว่า บูชายัญ. (ป. ยญฺ; ส. ยชฺ).

บูชายัญ

หมายถึงน. การบูชาของพราหมณ์อย่างหนึ่ง, การเซ่นสรวงด้วยวิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา. ก. เซ่นสรวงด้วยวิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา.

อิชยา

หมายถึง[อิดชะยา] น. การบูชา, การเซ่นสรวง. (ส.).

เสสรวง

หมายถึง[-สวง] ก. บน, บูชา, เซ่น, สรวงเส ก็ใช้.

ทางสามแพร่ง

หมายถึงน. ทางที่แยกเป็น ๓ สาย เกิดจากทางสายหนึ่งมาบรรจบเป็นมุมฉากกับทางอีกสายหนึ่ง, โบราณถือว่าเป็นทางผีผ่าน ไม่เป็นมงคล เช่น ไปทำพิธีเซ่นวักเสียกบาลที่ทางสามแพร่ง.

ครวัก,ครวี

หมายถึง[คฺระวัก, คฺระวี] ก. กวัดแกว่ง. (ข. ครฺวาต่, ครฺวี).

ยิฏฐะ,ยิฐะ

หมายถึง[ยิดถะ] น. การบูชา, การเซ่นสรวง. (ป. ยิฏฺ; ส. อิษฺฏ).

สรวง

หมายถึง[สวง] น. ฟ้า, สวรรค์; เทวดา. ก. เซ่น, บูชา, บน.

อัจนา

หมายถึง[อัดจะ-] น. การเซ่นสรวง, การถวาย, การบูชานับถือ. (ป. อจฺจนา).

เศษวรรค

หมายถึง[เสสะวัก, เสดวัก] น. พยัญชนะที่เหลือวรรคหรือที่เข้าอยู่ในวรรคทั้ง ๕ ไม่ได้ มี ๑๐ ตัว คือ ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ ํ, อวรรค ก็เรียก.

สามแพร่ง

หมายถึงน. ทางที่แยกเป็น ๓ สาย เกิดจากทางสายหนึ่งมาบรรจบเป็นมุมฉากกับทางอีกสายหนึ่ง เรียกว่า ทางสามแพร่ง, โบราณถือว่าเป็นทางผีผ่าน ไม่เป็นมงคล เช่น ไปทำพิธีเซ่นวักเสียกบาลที่ทางสามแพร่ง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ