ตัวกรองผลการค้นหา
บัวบาท
หมายถึงน. เท้าที่มีบัวรอง, หมายเอาเท้าผู้มีบุญอย่างพระพุทธเจ้า นิยมว่าพระพุทธเจ้ามีดอกบัวผุดขึ้นรับพระบาท, ใช้เลือนมาหมายถึงพระบาทของพระเจ้าแผ่นดินด้วย.
ปัฐยาวัต
หมายถึง[ปัดถะหฺยาวัด] (แบบ) น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่ง ซึ่งกำหนดด้วยอักษร ๓๒ คำ มี ๔ บาท บาทละ ๘ คำ, บัฐยาพฤต หรือ อัษฎกฉันท์ ก็เรียก. (ป. ปฐฺยาวตฺต).
บัฐยาพฤต
หมายถึง[บัดถะหฺยาพฺรึด] น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่งซึ่งกำหนดด้วยอักษร ๓๒ คำ มี ๔ บาท บาทละ ๘ คำ, ปัฐยาวัต หรือ อัษฎกฉันท์ ก็เรียก. (ส.; ป. ปฐฺยาวตฺต).
บง
หมายถึง(กลอน) ก. มองดู, แลดู, เช่น พลางพระบงจัตุบาท. (ตะเลงพ่าย).
มูลค่า
หมายถึง[มูนละ-, มูน-] น. ค่าของสิ่งของ, ราคาของสิ่งของ, เช่น ถวายจตุปัจจัยมีมูลค่า ๓๐ บาท.
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
หมายถึง(กฎ) น. ภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิต การจำหน่าย หรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา ๑๐๐ บาท ผลิตเป็นสินค้าขายในราคา ๑๕๐ บาท ดังนี้ ก็จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจำนวน ๕๐ บาท เท่านั้น. (อ. value-added tax).
สัดส่วน
หมายถึงน. ส่วนผสมของสิ่งต่าง ๆ ตามอัตราที่กำหนด เช่น ในการผสมปูนโบกฝาผนังจะใช้ซีเมนต์ ทราย และปูนขาว ตามสัดส่วน ๓ : ๒ : ๑; (คณิต) การเท่ากันของ ๒ อัตราส่วน หมายความว่า อัตราส่วนของปริมาณที่ ๑ ต่อปริมาณที่ ๒ เท่ากับอัตราส่วนของปริมาณที่ ๓ ต่อปริมาณที่ ๔ เช่น ๑ กิโลกรัม, ๒ กิโลกรัม; ๑๐๐ บาท, ๒๐๐ บาท ได้ชื่อว่าเป็นสัดส่วนกันก็เพราะ ๑ กิโลกรัม : ๒ กิโลกรัม = ๑๐๐ บาท : ๒๐๐ บาท. (อ. proportion).
ที่ไหนได้
หมายถึง(ปาก) ว. อะไรได้, หาใช่เช่นนั้นไม่, คำใช้แสดงความประหลาดใจ ไม่พอใจ ปฏิเสธ หรือแย้ง เป็นต้น เช่น ก พูดว่า หนังสือเล่มนี้ราคาถึง ๑๐ บาทไหม ข ตอบว่า ที่ไหนได้ ตั้ง ๕๐ บาท.
ทองเนื้อเก้า
หมายถึงน. ทองคำบริสุทธิ์ โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
คาถา
หมายถึงน. คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ ๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง.
ขา
หมายถึงน. พวก, ฝ่าย, เช่น ขานักเลง ขาเจ้าชู้; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันเช่นไพ่ว่า ขา; คราว, เที่ยว, เช่น ขากลับ ขาเข้า ขาออก; (โบ) สลึง, ใช้เฉพาะราคาทองคำที่คิดเป็นราคาเงินบาท เศษที่เป็นสลึงเรียกว่า ขา เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท ๒ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสองขา ถ้าเป็นราคาเงิน ๘ บาท ๓ สลึง เรียกว่า ทองเนื้อแปดสามขา.
สนอบ
หมายถึง[สะหฺนอบ] (โบ) น. เสื้อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานใช้นุ่งห่มเฉพาะในพระราชพิธี โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือในเวลารับแขกเมือง เป็นต้น. (ข. สฺนบ ว่า ผ้าห่อศพ).