ค้นเจอ 22,051 รายการ

ใช้กรรม

หมายถึงก. ชดใช้กรรมที่ได้ทำไว้.

พิบาก

หมายถึงน. ผล (ผลแห่งกรรม). ว. ยากเย็น. (ป., ส. วิปาก).

โศกนาฏกรรม เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

โศกะนาฏกรรม, โศกนาฎกรรม เป็นคำที่เขียนผิด ❌

สิ้นกรรม,สิ้นกรรมสิ้นเวร,สิ้นเวร,สิ้นเวรสิ้นกรรม

หมายถึงก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป เช่น เมื่อเขามีชีวิตอยู่ มีภาระมากหรือเจ็บป่วยทรมาน ตายไปก็ถือว่าสิ้นเวรสิ้นกรรม, หมดกรรม หมดกรรมหมดเวร หมดเวร หรือ หมดเวรหมดกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.

หมดเวรหมดกรรม

หมายถึงก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป, สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือ สิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.

หมดกรรมหมดเวร

หมายถึงก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป, สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือ สิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.

หมดเวร

หมายถึงก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป, สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือ สิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.

ปรนิมมิตวสวัตดี

หมายถึง[ปะระนิมมิตตะวะสะวัดดี, ปอระ-] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๖ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าววสวัตดีมารเป็นผู้ครอง.

แพะรับบาป

หมายถึง(สำ) น. คนที่รับเคราะห์กรรมแทนผู้อื่นที่ทำกรรมนั้น.

บุพกรรม

หมายถึงน. กรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน. (ป. ปุพฺพ + ส. กรฺมนฺ; ป. ปุพฺพกมฺม).

อโหสิกรรม

หมายถึง[อะ-] น. กรรมที่เลิกให้ผล; การเลิกแล้วต่อกัน, การไม่เอาโทษแก่กัน. (ป. อโหสิกมฺม).

กรรมพันธุ์

หมายถึง[กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกลวิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือพ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม + พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = “มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์” เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ