ค้นเจอ 48 รายการ

ผ่อน

หมายถึงก. ทำให้หย่อนหรือคลายความตึง เช่น ผ่อนสายป่านว่าว ผ่อนหนี้ ผ่อนอารมณ์.

หน้าเหี่ยว

หมายถึงน. หน้าที่ไม่เต่งตึง, โดยปริยายหมายความว่า ไม่สมปรารถนา เช่น ขอสตางค์แม่ไม่ได้ก็หน้าเหี่ยวกลับมา.

เป๋ง

หมายถึงว. ใช้ประกอบคำอื่นหมายความว่า ยิ่งกว่าปรกติ เช่น ตรงเป๋ง ตึงเป๋ง; เสียงดังเช่นนั้น.

ชะนุง

หมายถึงน. ไม้คู่สำหรับขึงเข็ดด้ายให้ตึง แล้วใช้แปรงขนหมีหวีเพื่อแยกเส้นด้าย.

เต่ง

หมายถึงว. มีเนื้ออูมแน่นตึง ไม่เหี่ยวหรือย่นยาน เช่น เนื้อเต่ง นมเต่ง มะม่วงเต่ง.

ครั่นตัว,ครั่นเนื้อครั่นตัว

หมายถึงก. รู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ เป็นอาการแสดงว่าจะเป็นไข้, รู้สึกสะบัดร้อนสะบัดหนาว, รู้สึกตึงเนื้อตึงตัว.

ติ้ว

หมายถึงว. ตึงเกินไป, แน่นเกินไป, เช่น รัดติ้ว คับติ้ว; สั้นกว่าปรกติ เช่น สาแหรกติ้ว; รวดเร็ว เช่น หมุนติ้ว.

เส้นแข็ง

หมายถึงน. อาการที่กล้ามเนื้อตึงจนแข็งทำให้เลือดลมเดินไม่สะดวก; (ปาก) ผู้มีอำนาจสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง.

เหี่ยว

หมายถึงว. ไม่สดชื่นเพราะขาดน้ำ เช่น ดอกไม้เหี่ยว, ค่อยแห้งไป เช่น ส้มโอเหี่ยว, ไม่เต่งตึง เช่น หนังเหี่ยว; สลด เช่น ใจเหี่ยว.

ขึง

หมายถึงก. ทำให้ตึง เช่น ขึงเชือก ขึงจอภาพยนตร์, ผูกสิ่งเป็นเส้นให้ยาวเหยียดออกไปเป็นราว เช่น ขึงราว, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หน้าขึง.

ขึงอูด

หมายถึงก. นอนหงายเหยียดตรง แล้วใช้ผ้าที่ขมวดปมหัวท้ายคลุมศีรษะด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งใช้ปลายเท้ายันผ้าให้ตึงเพื่อกันยุงเป็นต้น.

อวบ

หมายถึงว. มีเนื้อหนังสมบูรณ์เต่งตึงกว่าปรกติ แต่ไม่ถึงกับอ้วน เช่น แขนอวบ ขาอวบ, โตและเต่งกว่าปรกติ เช่น ผักบุ้งยอดอวบ มะม่วงลูกอวบ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ