ค้นเจอ 183 รายการ

เสียเถอะ,เสียเถิด

หมายถึงว. คำประกอบท้ายกริยา แสดงการเกลี้ยกล่อมหรือขอร้อง เช่น ไปเสียเถิด.

เสียหนัก

หมายถึงคำประกอบท้ายกริยา หมายความว่า มาก เช่น งานอย่างนี้ ทำมาเสียหนักแล้ว.

เหะ

หมายถึงว. เละ ใช้แก่กริยาเมา ในคำว่า เมาเหะ.

อำอวม

หมายถึง(โบ) ว. ที่ปิดบังความจริง (ใช้แก่กริยาพูด), อวมอำ ก็ว่า.

การิตวาจก

หมายถึง[การิดตะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นการิตการกหรือผู้รับใช้, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นการิตการก คือ เป็นผู้ถูกใช้ กริยาของการิตวาจกใช้กริยานุเคราะห์ “ถูก” “ถูก-ให้” หรือ “ถูกให้” เช่น ลูกจ้างถูกนายจ้างให้ทำงาน.

ถนัดปาก

หมายถึงว. สะดวกปาก, โดยไม่กระดากปาก, (ใช้แก่กริยาพูด).

เป็นฟืนเป็นไฟ

หมายถึงว. รุนแรง, เต็มที่, (ใช้แก่กริยาโกรธ) เช่น โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ.

อี๋

หมายถึงว. คำใช้ขยายกริยา คราง ในคำว่า ครางอี๋.

กลอกกลับ

หมายถึงว. ไม่อยู่กับร่องกับรอย, พลิกแพลง, (ใช้แก่กริยาพูด), กลับกลอก ก็ว่า.

ขวานผ่าซาก

หมายถึง(สำ) ว. โผงผางไม่เกรงใจใคร (ใช้แก่กริยาพูด).

เขลง

หมายถึง[เขฺลง] ว. ทอดอารมณ์อย่างสบาย (ใช้แก่กริยานอน).

ถลากไถล

หมายถึงว. ไม่ตรงไปตรงมา, ไม่อยู่กับร่องกับรอย, (ใช้แก่กริยาพูด).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ