ค้นเจอ 96 รายการ

เงินทองตรา

หมายถึง(โบ) น. เงินตราที่ทำด้วยทองหรือเงินเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสต่าง ๆ.

จิตระ,จิตรา

หมายถึง[จิดตฺระ, จิดตฺรา] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๔ มี ๑ ดวง เห็นเป็นรูปต่อมนํ้าหรือไต้ไฟ เช่น จิตราก็ปรากฏดำบล เสถียรที่สิบสี่หมาย. (สรรพสิทธิ์), ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวตาเสือ ก็เรียก. (ส.; ป. จิตฺตา).

ตราขุนพล

หมายถึงน. ลายที่ขีดเป็นกากบาทที่ก้นหม้อตาลสำหรับปักไว้กันผี.

ตราแดง

หมายถึง(โบ) น. หนังสือสำคัญซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จับจองที่นา ใช้ในบางจังหวัด แทนตราจอง แต่ไม่กำหนดเวลา ๓ ปี ออกให้ในสมัยหนึ่ง แล้วงดไม่ออกอีก เพื่อเก็บอากรค่านาเป็นนาคู่โค แทนที่เคยเป็นนาฟางลอย.

ตราตั้ง

หมายถึงน. เอกสารแต่งตั้ง เช่น ตราตั้งพระอุปัชฌายะ ตราตั้งที่พระราชทานให้แก่ธนาคารหรือบริษัทห้างร้านเป็นต้นที่ทำประโยชน์ในราชการส่วนพระองค์หรือประเทศชาติ มีสิทธิที่จะใช้ตราครุฑเพื่อแสดงว่าได้รับพระบรมราชานุญาต.

ตราบาป

หมายถึงน. บาปติดตัว, ความรู้สึกว่าเป็นบาปซึ่งมีฝังอยู่ในจิตใจตลอดไป.

ท้องตรา

หมายถึงน. หนังสือคำสั่งที่ประทับตราของเจ้ากระทรวง, เดิมเรียกว่า สารตรา.

ทุนสำรองเงินตรา

หมายถึง(กฎ) น. กองทุนสินทรัพย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรักษาไว้ เพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของเงินตรา.

นิรันตราย

หมายถึง[-รันตะราย] (แบบ) ว. ปราศจากอันตราย. (ป.).

บรรพตราช

หมายถึง(แบบ) น. พญาเขา. (ส. ปรฺวต + ราช).

ประจำครั่ง,ประจำตรา

หมายถึงก. เอาครั่งผนึกแล้วประทับเครื่องหมายเป็นสำคัญ.

มาตรา

หมายถึง[มาดตฺรา] น. หลักกำหนดการวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกดอยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ในมาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือแม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกดจัดอยู่ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากมหรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติในกฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกำกับเรียงตามลำดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ