ค้นเจอ 110 รายการ

คู่ความร่วม

หมายถึง(กฎ) น. บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเดียวกัน คือเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วม โดยบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี.

ใจความ

หมายถึงน. ส่วนสำคัญของเรื่อง, ตรงข้ามกับ พลความ.

ถ้อยความ

หมายถึงน. เรื่องราวที่เขียนหรือเรียบเรียง, เรื่องราวที่ฟ้องร้องกัน, มักใช้ในสำนวนว่า เป็นถ้อยเป็นความ.

เนื้อความ

หมายถึงน. ข้อความทั่ว ๆ ไป.

แปลเอาความ

หมายถึงก. แปลภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งโดยถือความหมายเป็นสำคัญ.

ยอมความ

หมายถึง(กฎ) ก. ตกลงระงับคดีอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด.

ยาวความ

หมายถึงว. ต่อความให้ยืดยาวออกไปโดยไม่จำเป็น เช่น อย่าพูดให้ยาวความ.

เรียงความ

หมายถึงก. นำข้อความต่าง ๆ มาแต่งเรียบเรียงให้เป็นเรื่องเป็นราว, แต่งหนังสือในลักษณะที่ใช้พูดหรือเขียนกันเป็นสามัญ ต่างจากลักษณะที่แต่งเป็นร้อยกรอง. น. เรื่องที่นำข้อความต่าง ๆ มาแต่งเรียบเรียงขึ้น.

เลาความ

หมายถึงน. รูปความหรือราวความแต่ย่อ ๆ พอเป็นเค้าเรื่อง.

สอบความถนัด

หมายถึงก. ทดสอบดูว่ามีความถนัดหรือความสามารถในทางใดบ้าง, ทดสอบดูว่ามีความถนัดในสาขาวิชาที่ต้องการเข้าศึกษาหรือในงานที่จะต้องทำหรือไม่.

สอบเทียบ,สอบเทียบความรู้

หมายถึงก. สอบเพื่อเทียบว่ามีความรู้เข้าเกณฑ์มาตรฐานที่ทางราชการกำหนดหรือไม่.

สารบบความ

หมายถึงน. บัญชีคดีความต่าง ๆ ของศาล.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ