ค้นเจอ 51 รายการ

วิทยากร

หมายถึงน. ผู้ทรงความรู้ความสามารถในศิลปวิทยาแขนงต่าง ๆ เช่น วิทยากรในการสัมมนาเรื่องเศรษฐกิจ. (ส.).

ญาณทัสนะ

หมายถึง[ยานะทัดสะนะ, ยานนะทัดสะนะ] (แบบ) น. ความรู้ความเห็น. (ป.).

ผู้รู้

หมายถึงน. ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องนั้น ๆ เช่น เรื่องนี้ต้องให้ผู้รู้เป็นคนชี้แจง.

รัฐบุรุษ

หมายถึง[รัดถะบุหฺรุด] น. ผู้ที่ได้รับยกย่องอย่างสูงว่ามีความรู้ความสามารถในการบริหารบ้านเมือง.

เกจิอาจารย์

หมายถึงน. “อาจารย์บางพวก”, อาจารย์ที่เชื่อกันว่ามีความรู้ความสามารถในด้านคาถาอาคมและการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง. (ป.).

ศิษย์เอก

หมายถึงน. ศิษย์ที่มีความรู้ความสามารถเป็นเลิศเหนือศิษย์ทั้งปวงหรือเหนือศิษย์แต่ละรุ่น.

เลื่อมใส

หมายถึงก. มีความเชื่อถือ เช่น เลื่อมใสศาสนา, มีจิตยินดี, เห็นชอบด้วย, เช่น เลื่อมใสในความรู้ความสามารถ เลื่อมใสในแนวการประพฤติปฏิบัติของเขา.

อัจฉริย,อัจฉริย-,อัจฉริยะ

หมายถึง[อัดฉะริยะ-] ว. วิเศษน่าอัศจรรย์, มีความรู้ความสามารถเกินกว่าระดับปรกติมาก. (ป.; ส. อาศฺจรฺย).

รู้เต็มอก

หมายถึงก. รู้ความเป็นไปอย่างดี แต่ไม่อาจพูดออกมาได้ เช่น รู้เต็มอกว่าเขาไม่ซื่อสัตย์ แต่ก็บอกใครไม่ได้, รู้อยู่แก่ใจ รู้อยู่เต็มใจ หรือ รู้อยู่เต็มอก ก็ว่า.

ทดสอบ

หมายถึงก. ตรวจสอบเพื่อความถูกต้องแน่นอน เช่น ทดสอบเครื่องยนต์; (การศึกษา) สอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถเป็นต้น เช่น ทดสอบความรู้ของนักเรียนด้วยการให้ลองปฏิบัติ.

อำพราง

หมายถึงก. ปิดบังโดยลวงให้เข้าใจไปทางอื่น, พูดหรือแสดงอาการไม่ให้รู้ความจริง. ว. ที่ปิดบังโดยลวงให้เข้าใจไปทางอื่น เช่น ฆาตกรรมอำพราง.

คุณวุฒิ

หมายถึง[คุนนะวุดทิ, คุนนะวุด] น. ความรู้ความสามารถของบุคคล, ระดับการศึกษา, เช่น เขามีคุณวุฒิเหมาะจะเป็นครู.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ