ตัวกรองผลการค้นหา
ค่าสัมบูรณ์
หมายถึง(คณิต) น. ค่าของจำนวนจริงที่ไม่คำนึงถึงเครื่องหมาย เช่น ค่าสัมบูรณ์ของ -๓ หรือ +๓ คือ ๓. (อ. absolute value).
จตุกาลธาตุ
หมายถึง[-กาละทาด] น. ธาตุกาล ๔ คือ ว่านนํ้า เจตมูลเพลิง แคแตร พนมสวรรค์.
จตุรงคินีเสนา
หมายถึง[จะตุรง-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคเสนา ก็ว่า. (ป., ส. จตุรงฺคินี + เสนา).
จตุรพักตร์
หมายถึงว. “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม.
จัตุสดมภ์
หมายถึง[จัดตุสะดม] น. จตุสดมภ์, วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จัตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
จาตุทสี
หมายถึง[-ทะสี] น. ดิถีที่ ๑๔ (คือ วัน ๑๔ คํ่า). (ป. จาตุทฺทสี; ส. จตุรฺทศี).
จำห้าประการ
หมายถึงว. มีเครื่องจองจำครบ ๕ อย่าง คือ ๑. ตรวนใส่เท้า ๒. เท้าติดขื่อไม้ ๓. โซ่ล่ามคอ ๔. คาไม้ใส่คอทับโซ่ ๕. มือ ๒ ข้างสอดเข้าไปในคาและไปติดกับขื่อทำด้วยไม้, เรียกสั้น ๆ ว่า จำครบ. (ประชุมพงศ. ๓๙).
จีวรกาลสมัย
หมายถึง(แบบ) น. คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร (งวดที่ ๑ ตั้งแต่วันมหาปวารณา คือ วันแรมคํ่าหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒, งวดที่ ๒ ตั้งแต่วันมหาปวารณาไปจนหมดฤดูหนาว, งวดที่ ๑ เป็นของพระที่มิได้กรานกฐิน, งวดที่ ๒ เป็นของพระที่กรานกฐินแล้ว). (ป.).
จีวรภาชก
หมายถึง(แบบ) น. ผู้แจกจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมุติให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรที่สงฆ์ได้มาให้แก่ภิกษุ. (ป., ส.).
เจียง
หมายถึง(ถิ่น-พายัพ; อีสาน) น. เดือนแรกของปีนับทางจันทรคติ คือ เดือนอ้าย.
ฉลอง
หมายถึง[ฉะหฺลอง] (โบ) ก. ข้าม ในคำว่า ท่าฉลอง คือ ท่าสำหรับข้าม. (ข. ฉฺลง).
ฉักกะ
หมายถึง(แบบ) น. หมวด ๖ คือ รวมสิ่งละหก ๆ. (ป.).