ค้นเจอ 59 รายการ

ออกยักษ์ออกโขน

หมายถึงก. กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่างเล่นโขน, ทำท่าและออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ.

ธารยักษ์

หมายถึงน. ชื่อโรคลมอย่างหนึ่ง.

ยักยอก

หมายถึงก. เอาทรัพย์ของผู้อื่นที่อยู่ในความดูแลรักษาของตนไปโดยทุจริต, ใช้เพียง ยัก คำเดียว ก็มี. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานเบียดบังเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ที่อยู่ในความครอบครองมาเป็นของตนหรือของบุคคลที่สามโดยทุจริต เรียกว่า ความผิดฐานยักยอก.

ยักษิณี

หมายถึงน. นางยักษ์. (ส.; ป. ยกฺขินี).

ยักเอว

หมายถึงก. เอียงตัวท่อนบนไปข้างใดข้างหนึ่ง ส่วนลำตัวท่อนล่างตั้งตรง เป็นท่าประกอบการรำไทยท่าหนึ่ง.

ลายไพรยักคิ้ว

หมายถึงน. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานไซ ข้อง กระบุง กล่องข้าว เป็นต้น ใช้ตอก ๓ เส้นเสมอไป ส่วนตอกซังจะใช้น้อยหรือมากหรือถี่ห่างอย่างไรก็ได้ แต่ต้องเป็นจำนวนคู่ สานโดยขึ้นตอกสาน ๓ เส้นขัดตอกซัง เว้นตอกซังไว้ ๒ เส้น แล้วเอาตอกสานเส้นกลางไพล่กลับข้ามตอกซัง ๓ เส้น ยกตอกซัง ๓ เส้น ต่อไปจึงไขว้ตอกสาน ๒ เส้นที่เหลือด้วยวิธีเดียวกัน สานไพล่ไปไพล่มาเช่นนี้ตลอด, ลายไพรกาว ก็เรียก.

คอหยัก ๆ สักแต่ว่าคน

หมายถึง(สำ) น. คนที่ประพฤติตัวไม่สมศักดิ์ศรีของความเป็นคน.

ผีเสื้อยักษ์

หมายถึงน. ผีหรืออมนุษย์จำพวกหนึ่งที่เป็นยักษ์.

ยัก

หมายถึง(ปาก) ว. คำประกอบกริยาในประโยคปฏิเสธแสดงความผิดคาด เช่น ไม่ยักจริง ว่าจะมาแล้วไม่ยักมา.

ยักขินี

หมายถึงน. นางยักษ์. (ป.; ส. ยกฺษิณี).

ยักเงี่ยง

หมายถึงก. หมอบลงและขยับศอกไปมา เป็นท่าหนึ่งของการเล่นเสือข้ามห้วย.

ยักย้าย

หมายถึงก. เปลี่ยนที่เสีย หรือนำไปไว้เสียที่อื่น, ยักย้ายถ่ายเท ก็ว่า, ใช้เพียง ยัก คำเดียว ก็มี.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ