ตัวกรองผลการค้นหา
คลิ้งโคลง
หมายถึง[คฺลิ้งโคฺลง] น. นกกิ้งโครง เช่น คลิ้งโคลงคล้อแคล้ในรัง นกเจ่าเหงาฟัง แลสารกระสาสรวลตาง. (สมุทรโฆษ). (ดู กิ้งโครง ๑).
บัวกลุ่ม
หมายถึงน. ลายปูนหรือลายแกะไม้ที่ทำเป็นรูปดอกบัวที่เริ่มแย้มร้อยกันเป็นเถา อยู่ระหว่างบัลลังก์กับปลียอดของเจดีย์หรือปลายเครื่องบนของปราสาท.
อัพภาส
หมายถึง[อับพาด] น. คำซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อนหรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ในภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส).
แจรง
หมายถึง[แจฺรง] (กลอน) ก. แจง, กระจายออก, ขยายออก, เช่น ดอกไม้งามเงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง. (ม. คำหลวง จุลพน).
ครอบจักรวาล
หมายถึง[คฺรอบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น "พี่นางแกล้งแปลงเรื่องให้เคืองพี่ สรวลซิกซี้กันเสียได้ไม่ไต่สวน จวนจะชื่นช่างมาคืนให้รัญจวน ออสำนวนพี่นางอย่างนี้ออ. (จารึกวัดโพธิ์)."
ขยาย
หมายถึง[ขะหฺยาย] ก. อธิบาย, ชี้แจง, เช่น ขยายความ, แผ่กว้างออกไป เช่น ขยายตัว, เปิดเผย เช่น ขยายความลับ, คลายให้หายแน่น เช่น ขยายเข็มขัดให้หลวม, คลี่, แย้ม, เช่น ดอกไม้ขยายกลีบ, ทำให้กว้างใหญ่ออกไป เช่น ขยายห้อง ขยายรูป, ทำให้มากขึ้น เช่น ขยายพันธุ์.
จาว
หมายถึงน. ดอก, ดอกไม้, เช่น ดอกไม้งามเงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง จาวจำแทงจำเทิด. (ม. คำหลวง จุลพน), จราว ก็ใช้, โดยปริยายหมายถึงผู้หญิง เช่น ไฟกามรลุงจาว ทองเทศ. (ทวาทศมาส).
ขมุกขมัว
หมายถึง[ขะหฺมุกขะหฺมัว] ว. มืด ๆ มัว ๆ, โพล้เพล้, จวนคํ่า, จวนมืด, โดยปริยายใช้หมายถึงสีมัว ๆ, ไม่ผ่องใส, เช่น ครั้นจะทำขมุกขมัวมอมแมม ชายเห็นจะเยื้อนแย้มบริภาษให้บาดจิต. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์).
แนม
หมายถึงก. แกม เช่น ดอกแนมใบ, แนบ, ชิด, เช่น ผลผกาเกิดกับกิ่งก้านระกุแกมแนมใบวิบูลระบัดบัง. (ม. ร่ายยาว มหาพน), โกมลไม่แย้มยังแนมใบ. (อิเหนา); แทรกแซมหรือแซงเข้าไป เช่น เอาลิ่มแนมให้แน่น, เรือตะเข้แนมทังสองข้าง. (สามดวง); แทรกเพิ่มเติม, ควบคู่กันไป, เช่น นํ้าพริกมีปลาดุกแนม; เสียดสี ในคำว่า เหน็บแนม.
ทรง
หมายถึง[ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จำ เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่นิยมใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.