ตัวกรองผลการค้นหา
รูปพรหม
หมายถึงน. เทพในพรหมโลกตามคติพระพุทธศาสนา เป็นจำพวกมีรูป มี ๑๖ ชั้น, คู่กับ อรูปพรหม. (ดู พรหม, พรหม-).
ลัทธิ
หมายถึงน. คติความเชื่อถือ ความคิดเห็น และหลักการ ที่มีผู้นิยมนับถือและปฏิบัติตามสืบเนื่องกันมา เช่น ลัทธิสังคมนิยม ลัทธิชาตินิยม ลัทธิทุนนิยม. (ป. ลทฺธิ ว่า ความเห็น, ความได้).
ชคดี
หมายถึง[ชะคะดี] น. แผ่นดิน เช่น แลเนืองนองด้วยมนุษยชาติ เดียรดาษชคดี. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป. ชคติ; ส. ชคตี).
วัชรปาณี
หมายถึงน. “ผู้ถือวชิระ” คือ พระอินทร์, วชิรปาณี ก็ว่า, ชื่อพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งตามคติฝ่ายมหายาน พระหัตถ์ทรงสายฟ้า. (ส. วชฺรปาณิ).
อรูปพรหม
หมายถึง[อะรูบปะพฺรม] น. เทพในพรหมโลกตามคติพระพุทธศาสนา เป็นจำพวกไม่มีรูป มี ๔ ชั้น, คู่กับ รูปพรหม. (ดู พรหม, พรหม-).
ตรีเอกภาพ,ตรีเอกานุภาพ
หมายถึงน. คติความเชื่อในศาสนาคริสต์ที่ว่าพระบิดา พระบุตร และพระจิต (คาทอลิก) หรือ พระวิญญาณบริสุทธิ์ (โปรเตสแตนต์) เป็น ๓ บุคคลที่รวมเป็นหนึ่ง ซึ่งความจริงก็คือพระเป็นเจ้าองค์เดียวกันนั่นเอง.
สุภาษิต
หมายถึงน. ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายเป็นคติสอนใจ เช่น รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ นํ้าเชี่ยวอย่าขวางเรือ. (ส.; ป. สุภาสิต ว่า ถ้อยคำที่กล่าวดีแล้ว).
จักริน,จักรี
หมายถึง[จักกฺริน, จักกฺรี] น. ผู้มีจักร หมายถึง พระนารายณ์, ต่อมาหมายถึง พระราชา ตามคติความเชื่อของไทยที่ถือว่าเป็นพระนารายณ์อวตาร. (ส. จกฺรี, จกฺรินฺ; ป. จกฺกี).
กฤดายุค
หมายถึง[กฺริดา-] น. ชื่อยุคแรกของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้มนุษย์มีธรรมะสูงสุด คือ เต็ม ๔ ใน ๔ ส่วน และมีอายุยืนยาวที่สุด. (ส. กฺฤตยุค). (ดู จตุรยุค).
ทวาบรยุค
หมายถึง[ทะวาบอระ-] น. ชื่อยุคที่ ๓ ของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้ธรรมะและอายุของมนุษย์ลดลงเหลือเพียง ๒ ใน ๔ ส่วนเมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค. (ดู จตุรยุค).
สุขารมณ์
หมายถึง[สุ-] น. อารมณ์ที่มีสุข เช่น เขาเดินผิวปากอย่างสุขารมณ์; เรียกลัทธิที่ถือว่าความสุขทางผัสสะหรือโลกียสุขในชีวิตปัจจุบันเป็นสิ่งสูงสุดหรือเป็นความดีสูงสุดของชีวิตว่า คติสุขารมณ์. (ป. สุข + อารมฺมณ).
สนาดก
หมายถึง[สะนา-] (แบบ) น. ผู้ได้รับนํ้าสรงในพิธีสนานหลังจากจบการศึกษาแล้ว ซึ่งตามคติชีวิตของชาวฮินดูถือเป็นการสิ้นสุดชีวิตขั้นที่ ๑ ในอาศรม ๔ คือ พรหมจารี และย่างเข้าขั้นที่ ๒ คือ คฤหัสถ์. (ส. สฺนาตก; ป. นหาตก).