ค้นเจอ 70 รายการ

ศาลากลางย่าน

หมายถึงน. อาคารทรงไทย คล้ายศาลาการเปรียญ นิยมสร้างไว้กลางหมู่บ้าน สำหรับให้คนในหมู่บ้านมาประชุม ทำบุญ หรือฟังธรรม เช่น ศาลากลางย่านที่ตำบลบ้านบุ, ศาลาโรงธรรม ก็เรียก.

ขุนศาล

หมายถึง(โบ) น. ผู้พิพากษาความ.

เจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด

หมายถึง(สำ) น. ผู้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง.

บรรณศาลา

หมายถึงน. ที่สำนักของฤๅษีหรือผู้บำเพ็ญพรตเป็นต้น ถือกันว่ามุงบังด้วยใบไม้. (ส. ปรฺณศาลา; ป. ปณฺณสาลา ว่า โรงที่มุงและบังด้วยใบไม้).

พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

หมายถึง(กฎ) น. กฎหมายที่จัดระเบียบองค์กรศาลยุติธรรม และกำหนดอำนาจศาล ตลอดจนเขตอำนาจของศาลยุติธรรมต่าง ๆ.

ไพศาล

หมายถึงว. กว้างใหญ่. (ส. วิศาล; ป. วิสาล).

วิศาล

หมายถึงว. ไพศาล, กว้างขวาง. (ส.; ป. วิสาล).

ศาลแขวง

หมายถึง(กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีและมีอำนาจไต่สวนหรือมีคำสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ระบุไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม.

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

หมายถึง(กฎ) น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ (ค.ศ. ๑๙๔๖) ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สืบต่อจากศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศของสันนิบาตชาติ (Permanent Court of International Justice) ตามบทบัญญัติต่อท้ายกฎบัตรองค์การสหประชาชาติ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสินเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกรณีพิพาทต่าง ๆ ทางกฎหมายและสนธิสัญญาตามที่สมัชชาใหญ่คณะมนตรีความมั่นคง หรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติร้องขอ, เรียกย่อว่า ศาลโลก. (อ. International Court of Justice).

ศาลอุทธรณ์ภาค

หมายถึง(กฎ) ดู ศาลอุทธรณ์.

ศาลาฉทาน

หมายถึง[-ฉ้อทาน] น. สถานที่แจกจ่ายอาหารแก่คนทั่วไปเป็นการกุศล, ฉทานศาลา ก็เรียก.

ศาลาตักบาตร,ศาลาบาตร

หมายถึงน. ศาลาที่ลักษณะเป็นโรงยาว มีฐานสำหรับตั้งบาตรได้หลายลูก มักปลูกไว้ในย่านกลางหมู่บ้านที่อยู่ไกลวัด ในเวลาเทศกาลที่นิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์ ก็จะตั้งบาตรเรียงไว้ที่ศาลานั้นเพื่อให้ประชาชนได้ตักบาตร.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ