ค้นเจอ 46 รายการ

ตราบเท่า

หมายถึงบ. ตลอด, ถึง, จวบจวน, เช่น รักษาเอกราชมาได้จนตราบเท่าทุกวันนี้. สัน. ตลอด, ถึง, จวบจวน, เช่น เราจะจงรักภักดีต่อประเทศชาติตราบเท่าชีวิตจะหาไม่, ตราบท้าว ก็ว่า.

ท่า

หมายถึงน. ฝั่งนํ้าสำหรับขึ้นลงหรือจอดเรือ, ท่านํ้า ก็เรียก, ที่สำหรับขึ้นลงริมนํ้า เช่น ท่าข้าม; โดยปริยายหมายถึงที่จอดยานพาหนะบางชนิด เช่น ท่าเกวียน ท่าอากาศยาน; เรียกนํ้าในแม่นํ้าลำคลองว่า นํ้าท่า, คู่กับ นํ้าฝน.

เทน้ำเทท่า

หมายถึง(ปาก) ว. คล่อง, รวดเร็ว, มักใช้ประกอบคำ ขาย เป็น ขายดีอย่างเทนํ้าเทท่า.

เทียบเท่า

หมายถึงว. เสมอกัน, เท่ากัน.

นายท่า

หมายถึงน. ผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการที่ท่าเรือท่ารถ เช่นในการปล่อยเรือปล่อยรถตามกำหนดเวลาเป็นต้น.

บากท่า

หมายถึงก. ให้ท่า, เปิดช่อง.

ไม่เป็นท่า

หมายถึงก. หมดรูป, ไม่เข้าท่า, ไม่ได้ความ, เช่น แพ้ไม่เป็นท่า.

สงวนท่าที,สงวนทีท่า

หมายถึงก. ไม่แสดงท่าทีให้ปรากฏชัดแจ้ง เพื่อไม่ให้ผู้อื่นรู้ความคิดของตน เช่น เขาสงวนท่าทีไม่ยอมแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม, ระมัดระวังกิริยาวาจาไม่ให้ใครดูถูก เช่น ก่อนจะทักทายใคร ควรสงวนทีท่าไว้บ้าง.

หมดท่า

หมายถึงว. หมดหนทาง, จนปัญญา, เช่น เขาหมดท่าไม่รู้ว่าจะโต้ตอบอย่างไร; อาการที่ทำให้รู้สึกน่าสังเวช เช่น เขาแต่งตัวภูมิฐานแล้วเดินหกล้ม หมดท่าเลย, หมดรูป ก็ว่า.

ตั้งท่า

หมายถึงก. วางท่า; เตรียมตัวพร้อม, คอยทีอยู่.

ท่า

หมายถึงน. ลักษณะท่วงทีของร่างกายที่อยู่นิ่ง ๆ ในบางอิริยาบถ เช่น ท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน; การแสดงกิริยายกมือยกเท้าเป็นต้นตามกำหนดเป็นวิธีไว้ เช่น ท่ามวย ท่ารำ; ชั้นเชิง, ท่วงที, วิธี, เช่น พลาดท่า ได้ท่า เสียท่า.

ท่า

หมายถึงก. รอคอย เช่น เหตุไฉนรีบมาไม่ท่ากัน. (อิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับ คอย หรือ รอ เป็น คอยท่า รอท่า.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ