ตัวกรองผลการค้นหา
กายกรรม
หมายถึงน. การทำทางกาย; การดัดตนเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง, การเล่นห้อยโหนโยนตัวเป็นต้น. (ส. กาย + กรฺม; ป. กาย + กมฺม).
กสิ,กสิ-
หมายถึง[กะ-] น. การทำนา, การเพาะปลูก. (ป.).
สรรพางค์
หมายถึง[สันระพาง] น. ทั้งตัว, ทั่วตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาย เป็น สรรพางค์กาย เช่น เจ็บปวดทั่วสรรพางค์กาย, สารพางค์ ก็ว่า. (ส. สรฺวางฺค).
สารพางค์
หมายถึง[สาระพาง] น. ทั้งตัว, ทั่วตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ กาย เป็น สารพางค์กาย เช่น เจ็บปวดทั่วสารพางค์กาย, สรรพางค์ ก็ว่า. (ดู สรรพ, สรรพ-).
ร่ำเรียน
หมายถึงก. ท่องบ่น, เพาะความรู้, หาความรู้ฝึกหัด.
เล่นกล้าม
หมายถึงก. บริหารร่างกายเพื่อเพาะกล้ามเนื้อให้ใหญ่แข็งแรง.
ถีน,ถีน-
หมายถึง[ถีนะ-] (แบบ) น. ความง่วงเหงา, ความคร้านกาย. (ป.).
พบู
หมายถึง(กลอน) น. กาย, ตัว. (ป., ส. วปุ).
สักกายทิฐิ
หมายถึงน. ความยึดถือว่ากายหรือตัวเป็นของตน. (ป. สกฺกายทิฏฺ;).
สัมมากัมมันตะ
หมายถึงน. “การงานชอบ” คือ ประพฤติกายสุจริต.(ป.).
ผัสส,ผัสส-,ผัสสะ
หมายถึงน. การกระทบ, การถูกต้อง, เช่น ผัสสะทางกาย ผัสสะทางใจ, การที่ตา หู จมูก ลิ้น และกาย กระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่รับรู้ได้ทางกาย เช่น ความสุขทางผัสสะ. (ป.).
กายินทรีย์,กาเยนทรีย์
หมายถึงน. ร่างกายซึ่งเป็นใหญ่ในการรับสัมผัส. (ป. กาย + อินฺทฺริย).