ตัวกรองผลการค้นหา
กล่ำ
หมายถึง[กฺลํ่า] น. ชื่อมาตราเงินโบราณ ๒ กล่อม เท่ากับ ๑ กลํ่า คือ อัฐ, ๒ กลํ่า เป็น ๑ ไพ. (กลํ่า ได้แก่ มะกลํ่าตาช้าง, กล่อม ได้แก่ มะกลํ่าตาหนู).
เครียว
หมายถึง[เคฺรียว] (โบ) ก. รีบไป, รีบมา, โบราณเขียนเป็น ครยว ก็มี เช่น บควรคิดอยู่ย้งง ควรครยว. (ยวนพ่าย), เคียว หรือ เขียว ก็ใช้.
ทางสามแพร่ง
หมายถึงน. ทางที่แยกเป็น ๓ สาย เกิดจากทางสายหนึ่งมาบรรจบเป็นมุมฉากกับทางอีกสายหนึ่ง, โบราณถือว่าเป็นทางผีผ่าน ไม่เป็นมงคล เช่น ไปทำพิธีเซ่นวักเสียกบาลที่ทางสามแพร่ง.
รางปืน
หมายถึงน. ไม้เนื้อแข็งที่ทำเป็นร่องสำหรับรองรับลำกล้องปืนประเภทประทับบ่า เช่น ปืนนกสับ ปืนคาบศิลา หรือตัวปืนใหญ่ในสมัยโบราณเป็นต้น.
กรร-
หมายถึง[กัน-] ใช้เป็นพยางค์หน้า (ซึ่งโบราณเขียนเป็น กนน หรือ กัน ก็มี) แทน กระ เช่น กรรชิง - กันชิง - กระชิง, กรรเช้า - กรนนเช้า - กระเช้า, กรรเชอ - กนนเชอ - กระเชอ, กรรโชก - กันโชก - กระโชก, กรรพุ่ม - กระพุ่ม, กรรลึง - กระลึง.
จะกรุน,จะกรูน
หมายถึงว. สีดำ, โบราณเขียนเป็น จกรูน ก็มี เช่น ช้างสารชำนิเมามัน หลากหลากหลายพรรณ แลหน้าจกรูนแสงนิล. (อนิรุทธ์).
กระสัง
หมายถึงน. ชื่อนกชนิดหนึ่ง, สันนิษฐานว่าในสมัยโบราณบางถิ่นอาจใช้เรียกนกชนิดหนึ่ง แต่ปัจจุบันไม่ปรากฏว่ามีใช้, เช่น กระสังกระสาสาว กระสันจับกระลับดู. (เสือโค).
กุศราช
หมายถึง[กุดสะหฺราด, กุดสะราด] น. ผ้าโบราณชนิดหนึ่ง มีดอกคล้ายผ้าลาย เนื้อหยาบหนา เช่น คลี่ผ้ากุศราชออกคาดพุง. (สังข์ทอง).
จุรณมหาจุรณ,จุรณวิจุรณ
หมายถึง[จุนมะหาจุน, จุนวิจุน] น. ของที่แหลกละเอียดมาก เช่น แหลกเป็นจุรณมหาจุรณ แหลกเป็นจุรณวิจุรณ, โบราณเขียนเป็น จุณมหาจุณ หรือ จุณวิจุณ ก็มี.
ดอน
หมายถึงน. ที่สูงซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกับที่ลุ่ม, ที่เขิน, ที่ห่างนํ้า, เนิน, โคก, โขด, เขิน; (ถิ่น-อีสาน) เรียกเกาะในแม่นํ้าว่า ดอน; คำประพันธ์โบราณเขียนเป็น ดร ก็มี.
ทะแย
หมายถึงน. ชื่อเพลงไทยโบราณทำนองหนึ่ง มีมาแต่สมัยอยุธยา มีอัตรา ๒ ชั้น ประเภทหน้าทับปรบไก่ มี ๒ ท่อน ท่อนที่ ๑ มี ๔ จังหวะ ท่อนที่ ๒ มี ๖ จังหวะ.
นา
หมายถึง(โบ; เลิก) น. ตำแหน่งเจ้ากระทรวงปกครองครั้งโบราณ มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวง จัดหาและรักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนคร ดูแลทุกข์สุขของชาวไร่ชาวนา.