ตัวกรองผลการค้นหา
ไวยากรณ์
หมายถึงน. วิชาภาษาว่าด้วยรูปคำและระเบียบในการประกอบรูปคำให้เป็นประโยค. (ป. เวยฺยากรณ; ส. ไวยากรณ ว่า นักศึกษาไวยากรณ์, วฺยากรณ ว่า ตำราไวยากรณ์).
การ,-การ,-การ
หมายถึงน. ผู้ทำ, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคำอื่นที่ไม่ใช่คำศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.
อภิ
หมายถึงคำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ยิ่ง, วิเศษ, เหนือ, เช่น อภิรมย์ = ยินดียิ่ง, อภิญญาณ = ความรู้วิเศษ, อภิมนุษย์ = มนุษย์ที่เหนือมนุษย์ทั้งหลาย. (ป.).
เสือสมิง
หมายถึงน. เสือที่เชื่อว่าเดิมเป็นคนที่มีวิชาอาคมแก่กล้าแล้วต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นเสือได้, เสือที่กินคนมาก ๆ เข้า เชื่อกันว่าวิญญาณคนตายเข้าสิง ต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นคนได้.
ชาติพันธุ์วิทยา
หมายถึง[ชาดติพันวิดทะยา] น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการแบ่งเชื้อชาติของมนุษย์ กำเนิดของเชื้อชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของเชื้อชาติต่าง ๆ. (อ. ethnology).
ชีวเคมี
หมายถึงน. วิชาเคมีสาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของสิ่งที่มีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับองค์ประกอบเหล่านั้น ตลอดจนกระบวนการต่าง ๆ ที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ. (อ. biochemistry).
ทุติย,ทุติย-
หมายถึง[ทุติยะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒, มักใช้นำหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุติยดิถี = วัน ๒ คํ่า, ทุติยมาส = เดือนที่ ๒, ทุติยวาร = ครั้งที่ ๒, ทุติยสุรทิน = วันที่ ๒. (ป.).
บัญญัติ
หมายถึง[บันหฺยัด] น. ข้อความที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ บัญญัติ ๑๐ ประการ. ก. ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น บัญญัติศัพท์ บัญญัติกฎหมาย. (ป. ปญฺตฺติ).
คนธรรพ-
หมายถึง[คนทันพะ-, คนทับพะ-] น. ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง เป็นบริวารท้าวธตรฐ มีความชำนาญในวิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺว; ป. คนฺธพฺพ).
อนุ
หมายถึงคำประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).
ปีแสง
หมายถึงน. หน่วยวัดระยะซึ่งใช้ในวิชาดาราศาสตร์ โดยกำหนดว่าระยะ ๑ ปีแสง คือ ระยะที่แสงเคลื่อนที่ไปได้ในเวลา ๑ ปี ซึ่งเป็นระยะ ๕.๘๗๘๔๘ x ๑๐๑๒ ไมล์ หรือ ๙.๔๖๐๕ x ๑๐๑๒ กิโลเมตร.
วิศวกรรมศาสตร์
หมายถึง[วิดสะวะกำมะสาด] น. วิชาที่เกี่ยวกับการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ มีหลายสาขา เช่น วิศวกรรมโยธา วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล. (อ. engineering).