ตัวกรองผลการค้นหา
เทศกาล
หมายถึงน. คราวสมัยที่กำหนดไว้เป็นประเพณีเพื่อทำบุญและการรื่นเริงในท้องถิ่น เช่น ตรุษ สงกรานต์ เข้าพรรษา สารท; คราว เช่น ชาวนาไม่ได้ทำนาสิ้นสองเทศกาลมาแล้ว. (พงศ. เลขา).
วจีทุจริต
หมายถึง[วะจีทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางวาจา มี ๔ อย่าง ได้แก่ การพูดเท็จ ๑ การพูดคำหยาบ ๑ การพูดส่อเสียด ๑ การพูดเพ้อเจ้อ ๑.
สุขาวดี
หมายถึง[สุขาวะดี] น. แดนอันมีความสุขตามความเชื่อของลัทธิมหายาน. (ส. สุขาวดี ว่า สวรรค์ของพระอมิตาภพุทธเจ้าของฝ่ายมหายาน).
ดำนาน
หมายถึง(แบบ) น. เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง เช่น น้าวเอาดำนานพระมหาแพศยันดรธรรมเทศนา. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). (ดู ตำนาน).
กราด
หมายถึง[กฺราด] น. ไม้กวาดที่ทำเป็นซี่ยาว ๆ ห่าง ๆ มีด้ามยาวสำหรับใช้กวาดที่ลานวัดเป็นต้น. (ข. จฺราศ). ก. กวาดด้วยกราด.
โยคาพจร,โยคาวจร
หมายถึง[โยคาพะจอน, -วะจอน] น. ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ผู้มีความเพียร, (มักใช้เรียกพระภิกษุผู้เรียนสมถะและวิปัสสนา). (ป.).
จาบัล
หมายถึง[-บัน] (แบบ) ก. หวั่นไหว, กระสับกระส่าย เช่น ดาลดับรงับจิตรจาบัลย์ เทียรทิพยสุคันธ ธรศมาโสรจโทรมสกนธ์. (ดุษฎีสังเวย); กำสรด, ร้องไห้คร่ำครวญ, สะอึกสะอื้น. (ส. จาปลฺย ว่า ความหวั่นไหว).
อร
หมายถึงก. ทำให้ดีใจ, ทำให้ปลาบปลื้มใจ, เช่น ใครรู้แห่งพระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม).
ปุงคพ,ปุงควะ
หมายถึง[ปุงคบ, ปุงคะ-] น. โคผู้, หมายความว่า ผู้เลิศ, ผู้ประเสริฐ, หัวหน้า, เช่น ศากยปุงควะ ว่า ผู้ประเสริฐในศากยตระกูล. (ป. ปุงฺคว).
เศษวรรค
หมายถึง[เสสะวัก, เสดวัก] น. พยัญชนะที่เหลือวรรคหรือที่เข้าอยู่ในวรรคทั้ง ๕ ไม่ได้ มี ๑๐ ตัว คือ ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ ํ, อวรรค ก็เรียก.
จาบัลย์
กระหย่อน
หมายถึง(โบ) ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง เช่น พระยานั่งอยู่แลกระหย่อนองค์โลดขึ้นทั้งนั้นก็ดี ขึ้นสูงได้ ๑๘ ศอก. (ไตรภูมิ; สรรพสิทธิ์; พงศ. เหนือ), กระย่อน ก็ว่า.