ค้นเจอ 719 รายการ

กฏุก-

หมายถึง[กะตุกะ-] ว. เผ็ด, เผ็ดร้อน, เช่น ตรีกฏุก หมายถึงเครื่องยาที่เผ็ดร้อนรวม ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. (ป.).

ควิวควัง,ควิวควั่ง,ควิวคว่าง,ควิวคว้าง

หมายถึง[-คฺวัง, -คฺวั่ง, -คฺว่าง, -คฺว้าง] ก. หมุนคว้างจนใจหวิว ๆ, อาการที่จิตใจรู้สึกหวาดหวิว; ใช้โดยปริยายว่า เวิ้งว้าง, กว้างใหญ่, น่ากลัว, เช่น สาครควิวคว่าง, โบราณเขียนเป็น ควิวคว่งง ก็มี เช่น สมุทรพิศารลิว ควิวคว่งง แลนา. (กำสรวล).

อายุกตกะ,อายุตกะ

หมายถึง[-ยุกตะกะ, -ยุดตะกะ] น. นายส่วย, เจ้าพนักงาน, เจ้าหน้าที่. (ส. อายุกฺตก; ป. อายุตฺตก).

วิปลาส

หมายถึง[วิปะลาด, วิบปะลาด] ก. คลาดเคลื่อนไปจากธรรมดาสามัญ เช่น สติวิปลาส ตัวอักษรวิปลาส สัญญาวิปลาส. (ป. วิปลฺลาส, วิปริยาส; ส. วิปรฺยาส).

วินาศสันติ

หมายถึง[วินาด-] ก. จงพินาศ, จงฉิบหาย, เป็นคำแช่งที่ออกเสียงเพี้ยนมาจากคำลงท้ายในคาถาอาคมที่เป็นภาษาบาลีว่า วินสฺสนฺตุ.

พิพรรธน์

หมายถึงน. พิพัฒน์. (ส. วิวรฺธน; ป. วิวฑฺฒน).

วินัยธร

หมายถึง[วิไนทอน] น. ภิกษุผู้ชำนาญวินัย. (ป.).

เวหาส

หมายถึง[-หาด] น. ฟ้า, อากาศ. (ป.; ส. วิหายส).

เอกภาคี

หมายถึง[เอกะ-, เอกกะ-] น. ฝ่ายเดียว หมายถึง ประเทศที่ปลีกตัวปฏิบัติการทางการเมืองเป็นต้นโดยลำพัง ไม่มีประเทศอื่นร่วมหรือรับรู้ด้วย.

กษัตรา

หมายถึง[กะสัดตฺรา] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น คือ พรหมทัตกษัตรา. (กฤษณา).

ปัญจก,ปัญจกะ

หมายถึง[ปันจก, -จะกะ] (แบบ) น. เบญจก, หมวด ๕. (ป.).

ปิหกะ

หมายถึง[-หะกะ] น. ม้าม. (โบราณนิยมแปลว่า ไต).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ