ค้นเจอ 326 รายการ

มะพร้าวทุย

หมายถึงน. ผลมะพร้าวที่เจริญเติบโตตามปรกติจนเปลือกแห้ง รูปรี ๆ กะลาลีบ นํ้าหนักเบา เพราะไม่มีเนื้อและนํ้า นิยมตัดครึ่งท่อนเพื่อทำกราดวงถูบ้านเป็นต้น.

น้ำตะกู,น้ำตะโก

หมายถึงน. กระดาษที่มีสีเหลืองอย่างสีทองคำ นิยมนำมาใช้สลักปรุเป็นลวดลาย หรือใช้ทั้งแผ่นปิดตกแต่งสิ่งปลูกสร้างหรือครุภัณฑ์บางอย่างเป็นการชั่วคราว เรียกว่า กระดาษนํ้าตะกู หรือ กระดาษนํ้าตะโก.

หมวกกะหลาป๋า

หมายถึงน. หมวกชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่อย่างละเอียด รูปทรงสูง ผู้หญิงนิยมใช้ในเวลาแข่งเรือ มีดอกไม้จีนเสียบ เป็นของเก่าสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ขึ้นไป.

อายัน

หมายถึงน. การมาถึง, นิยมใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น เหมายัน หมายถึง การมาถึงฤดูหนาว ครีษมายัน หมายถึง การมาถึงฤดูร้อน, ทางดาราศาสตร์ หมายถึงจุดหยุด คือจุดสุดทางเหนือและทางใต้ที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึง. (อ. solstice).

อาน,อาน-,อาน-

หมายถึง[อานะ-] น. ลมหายใจเข้า, นิยมใช้เข้าคู่กับ อปานะ คือ ลมหายใจออก เป็น อานาปานะ = ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ในคำว่า อานาปานัสสติ = สติที่กำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก. (ป., ส.).

เสียง

หมายถึงน. สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยหู เช่น เสียงฟ้าร้อง เสียงเพลง เสียงพูด; ความเห็น เช่น เรื่องนี้ฉันไม่ออกเสียง, ความนิยม เช่น คนนี้เสียงดี มีหวังได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, คะแนนเสียง เช่น ลงมติกันแล้วเขาชนะเพราะได้เสียงข้างมาก.

จิตวิสัย

หมายถึง[จิดตะ-] ว. ที่มีอยู่ในจิต, ที่เกี่ยวกับจิต; ที่จิตคิดขึ้นเองโดยไม่อาศัยวัตถุภายนอก, ตรงข้ามกับ วัตถุวิสัย; เรียกการสอบแบบที่ให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นด้วยว่า การสอบแบบจิตวิสัย, อัตนัย ก็ว่า. (อ. subjective).

หัน

หมายถึงก. ผันร่างไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หันซ้าย คือ ผันร่างไปทางซ้าย หันขวา คือ ผันร่างไปทางขวา, ผินไปทางใดทางหนึ่ง เช่น นิยมสร้างโบสถ์หันหน้าไปทางทิศตะวันออก, หมุน เช่น หันหน้ามาทางนี้; เปลี่ยนใจ เช่น หันไปเข้ากับศัตรู.

มีดต้องสู้

หมายถึงน. มีดขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายดาบ ปลายตัดเป็นหยัก ด้ามทำด้วยโลหะหรือไม้หุ้มโลหะ ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝัก เป็นมีดที่นิยมใช้กันในหมู่ชาวต้องสู้.

อัปภาคย์

หมายถึง[อับปะ-] ว. ปราศจากโชค, เคราะห์ร้าย, วาสนาน้อย; ไม่มีดี เช่น จะดูดินฟ้าพนาวัน สารพันอัปภาคย์หลากลาง. (อิเหนา), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ อาภัพ เป็น อาภัพอัปภาคย์, อปภาคย์ ก็ว่า. (ส.).

อัษฎมงคล,อัษฏมงคล

หมายถึงน. สิ่งที่ถือว่าเป็นมงคล ๘ อย่าง นิยมดังนี้ ๑. กรอบหน้า ๒. คทา ๓. สังข์ ๔. จักร ๕. ธง ๓ ชาย ๖. ขอช้าง ๗. โคเผือก ๘. หม้อนํ้า. (ส.).

ศาลากลางย่าน

หมายถึงน. อาคารทรงไทย คล้ายศาลาการเปรียญ นิยมสร้างไว้กลางหมู่บ้าน สำหรับให้คนในหมู่บ้านมาประชุม ทำบุญ หรือฟังธรรม เช่น ศาลากลางย่านที่ตำบลบ้านบุ, ศาลาโรงธรรม ก็เรียก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ