ตัวกรองผลการค้นหา
กรรสะ
หมายถึง[กัน-] (ราชา) ก. ไอ, ใช้ว่า ทรงพระกรรสะ. (ป. กาส; ส. กาศ).
กรรหาย
หมายถึง[กัน-] (โบ; กลอน) ก. อยากได้, หิวโหย, เช่น กามกรรหายยั่วข้าง. (ลอ), ให้หยุดพลพักร้อน กรรหายผ่อนเอาทับ. (นิ. พลเสพย์).
กาลกรรณี
หมายถึง[กาละกันนี, กานละกันนี] น. เสนียดจัญไร, ลักษณะที่เป็นอัปมงคล. (ส. กาลกรฺณี; ป. กาลกณฺณี).
กิตติกรรมประกาศ
หมายถึงน. ข้อความที่กล่าวถึงผลงานและแสดงความขอบคุณบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือที่ให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ มักเขียนไว้ตอนต้นของวิทยานิพนธ์. (อ. acknowledgements).
เกษตรกรรม
หมายถึง[กะเสดตฺระกำ] น. การใช้ที่ดินเพาะปลูกพืชต่าง ๆ รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ การประมง และการป่าไม้. (ส.).
จีวรกรรม
หมายถึง(แบบ) น. การเตรียมจีวรเพื่อเดินทาง เช่น ซัก สุ ย้อม. (ส.; ป. จีวรกมฺม).
ใช้กรรม
หมายถึงก. ชดใช้กรรมที่ได้ทำไว้.
ดนตรีกรรม
หมายถึง(กฎ) น. งานเกี่ยวกับเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้องไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้องหรือมีทำนองอย่างเดียว และหมายความรวมถึงโน้ตเพลงหรือแผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว.
ตีกรรเชียง
หมายถึง[-กัน-] ก. อาการที่นั่งหันหน้าไปทางท้ายเรือแล้วใช้มือเหนี่ยวกรรเชียงพุ้ยนํ้าให้เรือแล่นไป, เรียกท่าว่ายนํ้าโดยนอนหงายแล้วใช้แขนทั้ง ๒ พุ้ยนํ้าให้ตัวเลื่อนไป, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ชกแบบตีกรรเชียง, ตีกระเชียง ก็ว่า.
ถึงแก่อสัญกรรม
หมายถึงก. ตาย (ใช้แก่เจ้าพระยาหรือเทียบเท่า).
บาปกรรม
หมายถึง[บาบกำ] น. บาป. (ส. ปาปกรฺม; ป. ปาปกมฺม).
ผลิตกรรม
หมายถึงน. การทำให้เป็นผล.