ค้นเจอ 404 รายการ

อังแพลม

หมายถึง[-แพฺลม] น. ตะเกียงหิ้วขนาดเล็ก มีที่กำบังแสงและลม ๓ ด้าน สำหรับส่องหาของหรือตีกบเป็นต้นในเวลากลางคืน.

กระเชียง

หมายถึงน. เครื่องพุ้ยนํ้าให้เรือเดิน รูปคล้ายแจว มีหลักสำหรับพาด ใช้เหนี่ยว; อาการที่พุ้ยเช่นนั้น เรียกว่า ตีกระเชียง, กรรเชียง ก็ว่า.

จวก

หมายถึงก. สับหรือฟันโดยแรงด้วยจอบเป็นต้น, (ปาก) โดยปริยายหมายถึงตี ฟัน ชกต่อยผู้อื่นโดยแรง หรือว่าร้ายด้วยวาจา.

บุ

หมายถึงก. ตีให้เข้ารูป เช่น บุขัน, เอาของบาง ๆ หุ้มข้างนอก เช่น บุหนัง บุพลาสติก หรือรองข้างใน เช่น บุหลังคา.

รู้รส

หมายถึงก. รู้สึกถึงผลที่ได้รับ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ถ้าเด็กดื้อต้องตีเสียบ้าง จะได้รู้รสไม้เรียว ฉันเพิ่งรู้รสความหิว.

ศอกกลับ

หมายถึงก. หมุนตัวตีศอกทางด้านหลัง เป็นท่ามวยไทยท่าหนึ่ง; โดยปริยายหมายความว่า ย้อนว่าสวนคำ, พูดตอบสวนควัน, เช่น พอเขาว่ามาก็ศอกกลับไป.

ตัวเป็นเกลียว

หมายถึง(สำ) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็นเกลียว. (ไกรทอง).

เลือดชั่ว

หมายถึงน. ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพ่อแม่ที่ชั่ว, ความเลวร้ายที่มีอยู่ในตัว เช่น ตีหัวให้แตกเอาเลือดชั่วออกเสียบ้าง.

หน้าตาย

หมายถึงน. หน้าเฉยเหมือนไม่มีความรู้สึก เช่น เธอเป็นคนหน้าตาย. ว. ตีสีหน้าทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ เช่น ตลกหน้าตาย.

ระฆัง

หมายถึงน. เครื่องใช้ตีให้เกิดเสียงเป็นอาณัติสัญญาณ หล่อด้วยทองเหลืองเป็นต้น รูปคล้ายลูกฟักตัด มีหูติดอยู่ตอนบน.

ประกับ

หมายถึง(โบ) น. วัตถุใช้แทนเงินปลีก ขนาดเท่าเหรียญมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ นิ้ว ทำด้วยดินเผาตีตราต่าง ๆ.

ฝักมะขาม

หมายถึงน. ไม้สำหรับตีหัวคน ยาวราวศอกเศษ รูปแบนคล้ายฝักมะขาม เรียก ไม้ฝักมะขาม; ส่วนย่อยที่ต่อกันเป็นกงเกวียน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ