ค้นเจอ 420 รายการ

บัญจรงค์

หมายถึง[บันจะรง] (แบบ) น. เบญจรงค์ เช่น เอาผ้าบัญจรงค์อันงาม. (จารึกวัดป่ามะม่วง หลักที่ ๕ ด้านที่ ๓).

นุ

หมายถึง(กลอน) ตัดมาจากอุปสรรค อนุ เช่น ทราบนุสนธิ์ทุกแห่ง. (ตะเลงพ่าย); อเนกนุประการ. (พงศ. เลขา); โดยนุกรม. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).

จาก

หมายถึงน. ชื่อปูชนิด Varuna litterata ในวงศ์ Grapsidae ตัวเล็ก อาศัยอยู่ตามป่าจากในเขตน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม.

ธุดงคญ,ธุดงค์

หมายถึงน. องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส, ชื่อวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของภิกษุ มี ๑๓ อย่าง เช่น การอยู่ในป่า การอยู่โคนไม้. (ป. ธูตงฺค).

สลับสล้าง

หมายถึง[สะหฺลับสะล่าง] ว. เรียกลักษณะต้นไม้ที่ขึ้นเป็นดง มองจากที่สูงแลเห็นยอดสูง ๆ ต่ำ ๆ เช่น ขึ้นไปบนยอดเขา เห็นต้นไม้ขึ้นสลับสล้างเต็มไปหมด.

ขัดห้าง

หมายถึงก. ทำที่พักบนต้นไม้ในป่าชั่วคราวสำหรับคอยเฝ้าดูเหตุการณ์หรือดักยิงสัตว์เป็นต้น.

ชมบ

หมายถึง[ชะมบ] น. ผีผู้หญิงที่ตายในป่าและสิงอยู่ในบริเวณที่ตาย มีรูปเห็นเป็นเงา ๆ แต่ไม่ทำอันตรายใคร, ฉมบ หรือ ทมบ ก็ว่า.

กุณิ,กุณี

หมายถึงน. คนง่อย. (ป., ส.); กระเช้า เช่น แลมีมือกุ ํกุณีแลขอขุดธงง ก็ท่องยงงไพรกันดาร เอามูลผลาหารในพนาลี. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).

เป้ง

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล Phoenix วงศ์ Palmae ก้านใบมีหนาม คือ เป้งทะเล (P. paludosa Roxb.) ขึ้นตามชายทะเล, เป้งดอย (P. humilis Royle) ขึ้นตามป่าดอน, และ เป้งบก หรือ ปุ้มเป้ง (P. acaulis Ham.) ขึ้นในป่าเต็งรัง.

ซ่อม

หมายถึงก. ทำสิ่งที่ชำรุดให้คืนดี; แทง. น. เรียกช้างสำหรับใช้ฆ่าคนว่า ช้างซ่อม เช่น ช้างพลายซ่อมตัวหนึ่ง เป็นช้างเพชฌฆาต. (พงศ. เลขา).

เทศกาล

หมายถึงน. คราวสมัยที่กำหนดไว้เป็นประเพณีเพื่อทำบุญและการรื่นเริงในท้องถิ่น เช่น ตรุษ สงกรานต์ เข้าพรรษา สารท; คราว เช่น ชาวนาไม่ได้ทำนาสิ้นสองเทศกาลมาแล้ว. (พงศ. เลขา).

เส็งเคร็ง

หมายถึงว. เลว, ไม่ดี, ไม่มีค่า, ไม่มีราคา, เช่น ของเส็งเคร็งไม่มีใครต้องการ ป่านี้ไม้ดี ๆ ถูกตัดไปหมดแล้ว เหลือแต่ไม้เส็งเคร็ง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ