ค้นเจอ 25 รายการ

อนุศิษฏ์

หมายถึงก. สั่งสอน, ชี้แจง. (ส.; ป. อนุสิฏฺ).

อนุศาสน์

หมายถึงน. การสอน; คำชี้แจง. (ส.; ป. อนุสาสน).

อนุพงศ์

หมายถึงน. วงศ์ที่เนื่องมา, วงศ์ย่อยที่สืบมาจากวงศ์ใหญ่. (ส. อนุวํศ).

ฉันทานุมัติ

หมายถึง[ฉันทานุมัด] น. ความเห็นชอบตามโดยความพอใจ, การได้รับมอบหมายด้วยความเต็มใจ. (ป. ฉนฺท + อนุมติ).

อนุบท

หมายถึงน. บทลูกคู่, บทรับของเพลงและกลอน. (ป., ส. อนุปท).

อนุศาสก

หมายถึงน. อาจารย์ผู้ควบคุมดูแลนักเรียนในหอพักของวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย. (ส.; ป. อนุสาสก).

อนุวัต

หมายถึงก. ทำตาม, ประพฤติตาม, ปฏิบัติตาม, เขียนเป็น อนุวรรตน์ อนุวัตน์ อนุวัตร หรือ อนุวัติ ก็มี. (ป. อนุวตฺต; ส. อนุวรฺต).

กริยาวิเศษณานุประโยค

หมายถึง[-วิเสสะนานุปฺระโหฺยก] (ไว) น. อนุประโยคที่ประกอบกริยาหรือวิเศษณ์ในสังกรประโยค, ประโยควิเศษณ์ ก็ว่า.

กาลานุกาล

หมายถึง(โบ) น. งานบำเพ็ญกุศลถวายพระบรมอัฐิและพระอัฐิในกาลใดกาลหนึ่ง. (ป. กาล + อนุกาล).

สติวินัย

หมายถึงน. วิธีระงับอนุวาทาธิกรณ์ของสงฆ์โดยไม่ต้องพิจารณา เพียงแต่สวดกรรมวาจาประกาศความไม่มีโทษของจำเลยไว้ซึ่งเรียกว่า ให้สติวินัย แล้วยกฟ้องของโจทก์เสีย. (ป.).

ประธาน

หมายถึงน. ความเพียร มี ๔ อย่าง คือ ๑. สังวรประธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน ๒. ปหานประธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ภาวนาประธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน ๔. อนุรักขนาประธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม. (ส. ปฺรธาน; ป. ปธาน).

อนุสัย

หมายถึงน. กิเลสที่สงบนิ่งอยู่ในสันดาน, กิเลสอย่างละเอียด มี ๗ อย่าง ได้แก่ ๑. กามราคะ = ความกำหนัดในกาม ๒. ปฏิฆะ = ความขัดใจคือโทสะ ๓. ทิฏฐิ = ความเห็นผิด ๔. วิจิกิจฉา = ความลังเลสงสัย ๕. มานะ = ความถือตัว ๖. ภวราคะ = ความกำหนัดในภพ ๗. อวิชชา = ความไม่รู้แจ้งคือโมหะ. (ป. อนุสย; ส. อนุศย).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ