ค้นเจอ 44 รายการ

ลู่ทาง

หมายถึงน. ลาดเลา, ช่องทาง, เช่น ดูลู่ทางทำมาหากิน ผู้ร้ายหาลู่ทางเข้าไปโจรกรรม.

แดน

หมายถึงน. ที่ที่กำหนดไว้โดยตรงหรือโดยหมายรู้กัน เช่น ชายแดน ลํ้าแดน, ถิ่นที่ เช่น แดนเสือ แดนผู้ร้าย.

ติดตาม

หมายถึงก. ไปด้วย, มาด้วย; แสวงหาเพิ่มเติม, สดับตรับฟังความเคลื่อนไหวไปเรื่อย ๆ, เช่น ติดตามข่าว; ตามหา เช่น ตำรวจติดตามผู้ร้าย.

ลดละ

หมายถึงก. ยอมเว้นให้, ยอมหย่อนให้, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ตำรวจติดตามผู้ร้ายอย่างไม่ลดละ, ละลด ก็ว่า.

จับกุม

หมายถึงก. เกาะกุมตัวไว้ไม่ให้หนี เช่น จับกุมผู้ร้าย, (กฎ) เกาะกุมตัวไว้โดยเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจตามกฎหมาย, จับ ก็ว่า.

โจร,โจร,โจร-

หมายถึง[โจน, โจระ-, โจนระ-] น. ผู้ร้ายที่ลักขโมยหรือปล้นสะดมทรัพย์สินผู้อื่นเป็นต้น. (ป., ส.).

สำนึกผิด

หมายถึงก. รู้สึกตระหนักในความผิดที่ได้ทำไป เช่น ผู้ร้ายสำนึกผิดจึงได้สารภาพ, บางทีก็ใช้ว่า สำนึก เช่น ทำผิดถูกลงโทษแล้วยังไม่สำนึกอีก.

ลอยนวล

หมายถึงว. ตามสบาย, ไม่มีผู้ขัดขวางจับกุม, เช่น ผู้ร้ายหนีไปอย่างลอยนวล; กรีดกราย เช่น แทนที่จะไปโรงเรียน กลับไปเดินลอยนวลอยู่ที่ห้างสรรพสินค้า.

สวมรอย

หมายถึงก. เข้าแทนที่คนอื่นโดยทำเป็นทีให้เข้าใจว่าตนเองเป็นตัวจริง เช่น ผู้ร้ายสวมรอยเจ้าของบ้านเข้าไปขโมยของ.

มอบตัว

หมายถึงก. นำเด็กนักเรียนไปมอบให้อยู่ในความปกครองของโรงเรียน เช่น มอบตัวนักเรียน, ยอมตัวให้อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่เพื่อสู้คดี เช่น ผู้ร้ายเข้ามอบตัว.

หนักข้อ

หมายถึงก. กำเริบ เช่น เด็กคนนี้ชักจะหนักข้อขึ้นทุกวัน พ่อแม่ว่ากล่าวอย่างไรก็ไม่ฟัง. ว. รุนแรง เช่น เดี๋ยวนี้โจรผู้ร้ายมักกระทำการหนักข้อ.

สวมบท,สวมบทบาท

หมายถึงก. แสดงบทบาท เช่น สวมบทพระเอก สวมบทบาทผู้ร้าย; แสดงออกในลักษณะที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น คนใจบาปสวมบทนักบุญ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ