ค้นเจอ 45 รายการ

ล่อหูล่อตา

หมายถึงว. ชวนให้อยากได้หรือหยิบฉวยไปเป็นต้น เช่น แต่งทองเหลืองอร่ามล่อหูล่อตา.

อัจกลับ

หมายถึง[อัดจะกฺลับ] น. โคมอย่างหนึ่งทำด้วยทองเหลือง บางทีมีระย้าห้อยด้วย ใช้ในสมัยโบราณ.

สุกปลั่ง

หมายถึงว. สุกใสเป็นมันแวววาว เช่น ทองสุกปลั่ง ขัดถาดทองเหลืองเสียสุกปลั่ง.

ทองสักโก

หมายถึงน. ทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบาง นิยมใช้หุ้มองค์พระเจดีย์ป้องกันการผุกร่อน, พายัพเรียก ทองจังโก.

ลูกพลู

หมายถึงน. เครื่องประดับเครื่องแต่งตัวของช้างห้อยเป็นระย้าเรียงเป็นแถวลงมา มักทำด้วยทองเหลืองหรือเงินกะไหล่.

ทองจังโก

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ทองเหลืองที่ตีแผ่เป็นแผ่นบาง นิยมใช้หุ้มองค์พระเจดีย์ ป้องกันการผุกร่อน, ทองสักโก ก็ว่า.

ระฆัง

หมายถึงน. เครื่องใช้ตีให้เกิดเสียงเป็นอาณัติสัญญาณ หล่อด้วยทองเหลืองเป็นต้น รูปคล้ายลูกฟักตัด มีหูติดอยู่ตอนบน.

ทัพพี

หมายถึงน. เครื่องตักข้าวและแกงมีรูปร่างคล้ายช้อน แต่ใหญ่กว่า ทำด้วยทองเหลืองเป็นต้น, ทรพี ก็ว่า. (ป. ทพฺพิ; ส. ทรฺวี).

หน้าแว่น

หมายถึงน. เครื่องโรยขนมจีนเป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่วแผ่น เย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกับแผ่นทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, แว่น ก็เรียก, เรียกขนมปังกรอบที่มีรูปเช่นนั้นว่า ขนมปังหน้าแว่น; ผิวดินที่กระเทาะเป็นแผ่นบาง ๆ.

ทรพี

หมายถึง[ทอระ-] น. เครื่องตักข้าวและแกงมีรูปร่างคล้ายช้อน แต่ใหญ่กว่า ทำด้วยทองเหลืองเป็นต้น, ทัพพี ก็ว่า. (ส. ทรฺวี; ป. ทพฺพิ).

น้ำชุบ

หมายถึงน. นํ้าที่เจือด้วยธาตุเงิน ธาตุทองแดง หรือธาตุทองคำ สำหรับชุบของต่าง ๆ มีทองเหลืองเป็นต้นให้เป็นสีเงินหรือสีทอง, นํ้าที่เอาเหล็กเผาไฟให้แดงแล้วชุบลงเพื่อให้เหล็กกล้า; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) นํ้าพริก.

แตรวง

หมายถึงน. วงดนตรีซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ทำด้วยทองเหลือง จำพวกแตร และเครื่องตี เช่น กลอง จะจัดเป็นวงใหญ่หรือวงเล็กก็ได้ ใช้ในการบรรเลงเพลงต่าง ๆ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ