ค้นเจอ 4,037 รายการ

ท้องคัดท้องแข็ง

หมายถึงว. อาการที่หน้าท้องตึงเพราะหัวเราะเต็มที่, ท้องแข็ง ก็ว่า.

สัก

หมายถึงก. ทำให้ตึง, ทำให้แน่น, เช่น สักว่าว สักที่นอน.

เส้นยึด

หมายถึงน. อาการที่เส้นตึงหรือแข็งยึดทำให้เคลื่อนไหวไม่สะดวก.

เส้นจม

หมายถึงน. อาการที่เส้นเลือดถูกกล้ามเนื้อที่ตึงแข็งกดให้อยู่ลึกลงไปกว่าปรกติ.

หย่อน

หมายถึงก. ไม่ตึง, ผ่อนไม่ให้ตึง, ค่อย ๆ ผ่อนลงมาจากที่สูง; ถอย เช่น หย่อนกำลัง, คลาย เช่น หย่อนอารมณ์, ทุเลา เช่น ลดหย่อน; เบาลง, น้อย, ไม่เต็ม, เช่น กิโลหย่อนไป ๒ ขีด บาทหย่อนสลึง หย่อนสมรรถภาพ.

ครั่นตัว,ครั่นเนื้อครั่นตัว

หมายถึงก. รู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ เป็นอาการแสดงว่าจะเป็นไข้, รู้สึกสะบัดร้อนสะบัดหนาว, รู้สึกตึงเนื้อตึงตัว.

พลวง

หมายถึง[พฺลวง] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Dipterocarpus tuberculatus Roxb. ในวงศ์ Dipterocarpaceae ใบใหญ่ ใช้ห่อยาสูบและมุงหลังคา, คลุ้ง ตองตึง หรือ ตึง ก็เรียก.

กระเบง

หมายถึง(กลอน) ก. เบ่ง เช่น ระด่าวตึงกระเบงแขน. (อนิรุทธ์); ตะเบ็ง, กระเบญ ก็ใช้.

เขม็ง

หมายถึง[ขะเหฺม็ง] ว. ตึงเครียด; แน่น, แข็ง; อย่างแน่วแน่ เช่น จ้องเขม็ง. ก. ทำให้ตึง เช่น เขม็งเกลียว.

ผ่อน

หมายถึงก. ทำให้หย่อนหรือคลายความตึง เช่น ผ่อนสายป่านว่าว ผ่อนหนี้ ผ่อนอารมณ์.

หน้าเหี่ยว

หมายถึงน. หน้าที่ไม่เต่งตึง, โดยปริยายหมายความว่า ไม่สมปรารถนา เช่น ขอสตางค์แม่ไม่ได้ก็หน้าเหี่ยวกลับมา.

เป๋ง

หมายถึงว. ใช้ประกอบคำอื่นหมายความว่า ยิ่งกว่าปรกติ เช่น ตรงเป๋ง ตึงเป๋ง; เสียงดังเช่นนั้น.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ