ค้นเจอ 43 รายการ

มาตรา

หมายถึง[มาดตฺรา] น. หลักกำหนดการวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกดอยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ในมาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือแม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกดจัดอยู่ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากมหรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติในกฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกำกับเรียงตามลำดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.

รอยตรา

หมายถึงน. รอยประทับของดวงตรา.

อนุมาตรา

หมายถึง[-มาดตฺรา] น. ข้อย่อยของมาตราในกฎหมายที่มีเลขกำกับอยู่ในวงเล็บ.

อุตรา

หมายถึง[อุดตฺรา] น. เรียกลมชนิดหนึ่งพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในต้นฤดูร้อน ว่า ลมอุตรา.

กษัตรา

หมายถึง[กะสัดตฺรา] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น คือ พรหมทัตกษัตรา. (กฤษณา).

นนตรา

หมายถึง[นนตฺรา] น. ต้นกระถิน. (ช.).

บุตรา

หมายถึง[บุดตฺรา] (กลอน) น. บุตร.

บุษบามินตรา

หมายถึง[บุดสะบามินตฺรา] น. พุทธรักษา. (ช.).

พยุหบาตร,พยุหบาตรา

หมายถึง[-บาด, -บาดตฺรา] (กลอน) น. กระบวนทัพ.

สารตรา

หมายถึง[สาน-] (กฎ; โบ) น. หนังสือราชการที่เชิญพระบรมราชโองการซึ่งประทับตราใหญ่; หนังสือราชการที่เสนาบดีเจ้ากระทรวงลงชื่อและประทับตรากระทรวงส่งไปยังหัวเมือง ซึ่งในสมัยต่อมาเรียกว่า ท้องตรา.

อยู่อัตรา

หมายถึง(โบ) ว. เป็นปรกติ, เป็นประจำ, เช่น ให้เพิ่มพูนปรนนิบัติอยู่อัตรา. (กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติ ร. ๓), (ปาก) เป็นอัตรา.

อันตรา

หมายถึง[อันตะรา] นิ. ระหว่าง. (ป.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ