ตัวกรองผลการค้นหา
กรรมเวร
หมายถึง[กำเวน] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมในอดีต เช่น อายุตั้ง ๗๐ ปีแล้วยังต้องมาหาบขนมขายอีก กรรมเวรแท้ ๆ, เวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า.
กรรมสิทธิ์
หมายถึง[กำมะสิด] น. ความเป็นเจ้าของทรัพย์; (กฎ) สิทธิทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จำหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย. (ส. กรฺม + สิทฺธิ = ความสำเร็จ; ป. กมฺมสิทฺธิ).
กรรมสิทธิ์รวม
หมายถึง(กฎ) น. กรรมสิทธิ์ของบุคคลหลายคนร่วมกันในทรัพย์สินอันใดอันหนึ่ง.
กรรมาร
หมายถึง[กำมาน] (แบบ) น. ช่างทอง เช่น กรรมารบุตร. (ส. กรฺมาร; ป. กมฺมาร).
กรรดึก
หมายถึง[กัน-] (แบบ) น. เดือน ๑๒. (ดู กัตติกมาส).
กรรกศ
หมายถึง[กันกด] (แบบ) ว. หยาบช้า, เขียนเป็น กรรกษก็มี เช่น อันว่าพระญาติท่ววไท้ บมิหวังไหว้พระตถาคต ใจแลไปกรรกษ บารนีฯ. (ม. คำหลวง ทศพร). (ส. กรฺกศ).
กรรเจียกจอน
หมายถึงน. เครื่องประดับหู, เขียนเป็น กรรเจียกจร ก็มี เช่น กรรเจียกจอนจำหลักลายซ้ายขวา. (สังข์ทอง).
กรรเช้า
หมายถึง[กัน-] (โบ) น. กระเช้า.
กรรเชียงปู
หมายถึง[กัน-] น. เรียกขาคู่สุดท้ายของปูในวงศ์ Portunidae เช่น ปูม้า ปูทะเล ซึ่งปล้องปลายมีลักษณะแบนคล้ายใบพาย, กระเชียงปู ก็เรียก.
กรรฐ์
หมายถึง[กัน] น. คอ. (เทียบ ข. กรฺฐ ว่า คอ). (เลือนมาจาก กัณฐ์).
กรรณา
หมายถึง[กัน-] (กลอน) ดู กรรณ, กรรณ-.
กรรตุสัญญา
หมายถึง[กัดตุ-] น. นามที่เป็นคำร้องเรียกชื่อลอย ๆ เช่น แล้วกล่าววาจาอันสุนทร ดูก่อนกุมภกรรณยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (ป. สญฺา = นาม, ชื่อ).