ค้นเจอ 57 รายการ

กระโบม

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่งให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามอย่างสำรับ, กระบม ก็เรียก.

กำโบล

หมายถึง(แบบ) น. กโบล, กระพุ้งแก้ม, เช่น ปรางเปรียบกำโบลบง- กชรัตนรจนา. (สุธน). (ป., ส. กโปล).

จีโบ

หมายถึงน. หมวกโบราณชนิดหนึ่ง ทำด้วยขนสัตว์ ข้าง ๆ ยาวลงมาปกหูกันความหนาว เวลาไม่ใช้ม้วนขึ้น. (ประชุมพงศ. ภาค ๕๐); ชื่อเครื่องถ้วยชาชุดชนิดหนึ่ง.

โบนัส

หมายถึงน. เงินพิเศษที่รัฐวิสาหกิจ องค์การ บริษัท ห้างร้าน เป็นต้น จ่ายให้เป็นบำเหน็จรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของตน นอกเหนือจากเงินเดือนค่าจ้าง, เงินที่ให้เป็นส่วนแบ่งพิเศษแก่ผู้ถือหุ้น. (อ. bonus).

โบ๊เบ๊

หมายถึงว. มีเสียงเอ็ดอึงจนฟังไม่ได้ศัพท์.

โบราณ,โบราณ-

หมายถึง[โบราน, โบรานนะ-] ว. มีมาแล้วช้านาน, เก่าก่อน, เช่น อักษรโบราณ หนังสือโบราณ, เก่า, เก่าแก่, เช่น แพทย์แผนโบราณ ของโบราณ; (ปาก) ไม่ทันสมัย เช่น คนหัวโบราณ. (ป. โปราณ; ส. เปาราณ).

ลงอุโบสถ

หมายถึงก. เข้าร่วมสังฆกรรมฟังพระปาติโมกข์ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า วันแรม ๑๔ หรือ แรม ๑๕ คํ่าของเดือน (ใช้แก่พระสงฆ์), ลงโบสถ์ ก็ว่า.

ละโบม

หมายถึงก. โลม, ลูบคลำ, เคล้าคลึง.

วันอุโบสถ

หมายถึงน. วันขึ้น ๑๕ คํ่า และวันแรม ๑๕ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ คํ่า เป็นวันที่พระลงอุโบสถฟังพระปาติโมกข์และเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนถืออุโบสถศีลคือ ศีล ๘.

อุโบสถ

หมายถึง[อุโบสด] น. เรียกสถานที่ที่พระสงฆ์ประชุมกันทำสังฆกรรมเช่นสวดพระปาติโมกข์ อุปสมบท ว่า โรงอุโบสถ หรือ อุโบสถ, เรียกย่อว่า โบสถ์; (ปาก) เรียกวันพระว่า วันอุโบสถ; เรียกการแสดงพระปาติโมกข์ของพระสงฆ์ทุก ๆ กึ่งเดือน คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด ว่า การทำอุโบสถ; เรียกการรักษาศีล ๘ ของคฤหัสถ์ว่า การรักษาอุโบสถ. (ป. อุโปสถ; ส. อุโปษธ, อุปวสถ).

อุโบสถกรรม

หมายถึง[อุโบสดถะกำ] น. การทำอุโบสถ. (ป. อุโปสถกมฺม).

กโบล

หมายถึง[กะโบน] น. แก้ม. (ป. กโปล).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ