ค้นเจอ 62 รายการ

คราว

หมายถึง[คฺราว] น. ครั้ง, หน, เช่น คราวหน้า คราวหลัง, รุ่น เช่น เด็ก ๒ คนนี้อายุคราวเดียวกัน, ใช้เป็นลักษณนาม เช่น สินค้าชนิดนี้ส่งเข้ามา ๓ คราว.

เทววาจิกะ

หมายถึงว. ที่ทำด้วยกล่าว ๒ หน, ที่กล่าววาจา ๒ หน, ใช้เรียกสรณคมน์ในเวลาแรกตรัสรู้ว่า เทววาจิกสรณคมน์ แปลว่า สรณคมน์ที่เปล่งวาจาถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก เพราะเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์.

มื้อ

หมายถึงน. เวลา, คราว, (ใช้เกี่ยวกับการกินอาหาร) เช่น อาหารมื้อเช้า อาหารมื้อกลางวัน อาหารมื้อเย็น กินอาหารให้เป็นมื้อเป็นคราว, ลักษณนามหมายถึง คราว, ครั้ง, หน, เช่น กินอาหารวันละ ๓ มื้อ.

ไม้ยมก

หมายถึงน. เครื่องหมายรูปดังนี้ ๆ สำหรับอ่านซํ้าความหรือซํ้าคำข้างท้าย ๒ หน.

สิงหล

หมายถึง[-หน] น. ชื่อเรียกประเทศศรีลังกาในสมัยโบราณ, สิงหลทวีป ก็เรียก, เรียกชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของศรีลังกาว่า ชาวสิงหล, เรียกภาษาของชาวสิงหลว่า ภาษาสิงหล. (ส. สึหล; ป. สีหล).

กาล,กาล,กาล-

หมายถึง[กาน, กาละ-] น. เวลา, คราว, ครั้ง, หน. (ป., ส.).

กุลาหล

หมายถึง[-หน] (กลอน) ว. โกลาหล เช่น สนั่นครั่นครื้น กุลาหล. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

โกลาหล

หมายถึง[-หน] น. เสียงกึกก้อง. ว. อื้ออึง, เอิกเกริก, วุ่นวาย, (โบ; กลอน) ใช้เป็น โกลา โกลี ก็มี เช่น เสียงโห่โกลาเกรียงไกร. (คำพากย์), พระกุมารโกรธใจเป็นโกลี. (ไชยเชฐ). (ป., ส.).

ชายสามโบสถ์

หมายถึง(สำ) น. ผู้ที่บวชแล้วสึกถึง ๓ หน, ใช้พูดเป็นเชิงตำหนิว่า เป็นคนที่ไม่น่าคบ.

ทวิชาติ

หมายถึงน. นก; พราหมณ์. (ส. ทฺวิชาติ ว่า ผู้เกิด ๒ หน).

วันพระไม่มีหนเดียว

หมายถึง(สำ) น. วันหน้ายังมีโอกาสอีก (มักใช้พูดเป็นเชิงอาฆาต).

รู้หนเหนือหนใต้

หมายถึงก. รู้ทิศทาง, รู้จักหนทาง, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เดี๋ยวนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วไม่รู้หนเหนือหนใต้, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้เรื่อง เช่น ทำงานใหม่ ๆ ไม่รู้หนเหนือหนใต้, รู้เหนือรู้ใต้ ก็ว่า.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ