ค้นเจอ 26 รายการ

เจน

หมายถึงว. คุ้น, ชิน, เช่น เจนตา, ชำนาญ เช่น เจนสังเวียน,จำได้แม่นยำ เช่น เจนทาง.

นวโลหะ

หมายถึงน. โลหะ ๙ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑ เพียงนี้เรียกว่า เบญจโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก “เจ้านํ้าเงิน” ว่า เป็นแร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวเป็นสีนํ้าเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป).

ชินบุตร

หมายถึง[ชินนะบุด] น. พระสงฆ์. (ส. ชินปุตะ; ป. ชินปุตฺต).

ดื้อด้าน

หมายถึงว. ดื้อเสียจนเคยชิน.

ด้านไม้

หมายถึงก. ถูกตีมากจนชินเลยไม่รู้จักหลาบจำ.

จืดตา

หมายถึงว. ไม่เข้ม, ไม่เด่น, เบื่อเพราะชินตา.

นิสัย

หมายถึงน. ความประพฤติที่เคยชิน เช่น ทำจนเป็นนิสัย; ที่พึ่ง, ที่พักพิง, ที่อาศัย, เช่น ขอนิสัยในการอุปสมบท. (ป. นิสฺสย).

อุปนิสัย

หมายถึง[อุปะนิไส, อุบปะนิไส] น. ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน เช่น ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปเทศน์โปรดผู้ใดจะต้องทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยของผู้นั้นก่อน, ความประพฤติที่เคยชินจนเกือบเป็นนิสัย เช่น นักเรียนคนนี้มีอุปนิสัยดี. (ป. อุปนิสฺสย).

คุ้นเคย

หมายถึงก. รู้จักชอบพอสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น พวกเขาทำงานด้วยกันมานาน เลยคุ้นเคยกัน, เคยเห็นเคยทำบ่อย ๆ จนชิน เช่น เขาเดินในที่มืดได้เพราะคุ้นเคยกับสถานที่แห่งนี้.

กระทวย

หมายถึงน. ทวย คือ ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทำเป็นรูปนาค เช่น กระทวยธวัชกลงวง คชินทรจ้วงจับลม. (เพชรมงกุฎ).

ทุตวิลัมพิตมาลา

หมายถึง[ทุตะวิลำพิตะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะ คือ น ภ ภ ร (ตามแบบว่า ทุตวิลมฺพิตมาห นภา ภรา) ตัวอย่างว่า ชินกถาคณนา วนิดาประมาณ พฤศติเพธพิสดาร อดิเรกภิปราย.

หลับตา

หมายถึงก. ปิดกลีบตา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้อย่างง่าย ๆ เพราะมีความเคยชินหรือมีความชำนาญมาก เช่น เรื่องอย่างนี้หลับตาทำก็ได้; อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างลวก ๆ ไม่เรียบร้อย เช่น ทำรายงานอย่างกับหลับตาทำ, เดา เช่น หลับตาพูด.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ