ตัวกรองผลการค้นหา
กสิ,กสิ-
หมายถึง[กะ-] น. การทำนา, การเพาะปลูก. (ป.).
วิกจะ
หมายถึง[-กะ-] ก. แย้ม, บาน. (ป., ส.).
กังกะ
หมายถึง(แบบ) น. เหยี่ยว เช่น เกิดเป็นภักษแก่กังกโกรญจคฤธรกา บินมาวว่อนร่อน ก็ร้อง. (สมุทรโฆษ).
ภาณกะ
หมายถึง[พานะกะ] (แบบ) น. ผู้สวด, ผู้กล่าว, ผู้บอก. (ป.).
มฤตกะ
หมายถึง[มะรึตะกะ] น. ผู้ตาย, ซากศพ. (ส. มฺฤตก; ป. มตก).
สตกะ
หมายถึง[สะตะ-] น. หมวด ๑๐๐, จำนวนร้อย. (ป.).
โอกะ
หมายถึงน. นํ้า; ที่อยู่. (ป.).
เฌอ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅
กะเฌอ เป็นคำที่เขียนผิด ❌
กหังปายา
หมายถึง[กะ-] น. เกณฑ์สำหรับลบพุทธศักราชเป็นจุลศักราช ตรงกับเลข ๑๑๘๑.
คะเน
หมายถึงก. กะ, คำนวณเอาอย่างหยาบ ๆ, เช่น คะเนให้พอดี.
พยางค์
หมายถึง[พะยาง] น. ส่วนของคำที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ เช่น กะ มี ๑ พยางค์ กระเป๋า มี ๒ พยางค์ พยากรณ์ มี ๓ พยางค์.
กรานกฐิน
หมายถึง[-กะถิน] ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, พิธีทำบัดนี้ คือ สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทำตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่า กรานกฐิน. (อุปสมบทวิธี). (ดู กฐิน). (ข. กราล ว่า ปู, ลาด).