ค้นเจอ 152 รายการ

พิทักษ์ทรัพย์

หมายถึง(กฎ) น. คำสั่งศาลในคดีล้มละลายให้พิทักษ์ทรัพย์สินของลูกหนี้ไม่ว่าเด็ดขาดหรือชั่วคราว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ถือเสมือนเป็นหมายของศาลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสารของลูกหนี้ ตลอดจนบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ในความครอบครองของลูกหนี้ หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายซึ่งมีผลให้ลูกหนี้หมดอำนาจจัดการทรัพย์สินของตน โดยอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว.

รูดทรัพย์

หมายถึง(ปาก) ก. ยึดเอาสิ่งมีค่า เช่น แหวน นาฬิกา สายสร้อย ออกจากตัวโดยเจ้าของไม่รู้ตัว หรือโดยถูกขู่บังคับ.

วางทรัพย์

หมายถึง(กฎ) น. การที่บุคคลผู้ชำระหนี้นำทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์ประจำตำบลที่จะต้องชำระหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ในกรณีที่เจ้าหนี้บอกปัดไม่ยอมรับชำระหนี้หรือไม่สามารถจะรับชำระหนี้ได้ เพื่อให้หลุดพ้นจากหนี้นั้น.

ชิงทรัพย์

หมายถึง(กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ (๑) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป (๒) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น (๓) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ (๔) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ (๕) ให้พ้นจากการจับกุม.

มลัก

หมายถึง[มะลัก] ก. ลัก, ลอบ; มัก; รัก; เห็น. ว. มากเช่น รู้มลัก.

อวหาร

หมายถึงน. การลัก, การขโมย. (ป., ส.).

สุธาหรณ์

หมายถึงครุฑ, ผู้ลักน้ำอมฤต

อมฤตาหรณ์

หมายถึงครุฑ, ผู้ลักน้ำอมฤต

ขโมย

หมายถึง[ขะ-] น. ผู้ลักทรัพย์. ก. ลัก, โดยปริยายหมายความว่า ลอบทำสิ่งที่ตนไม่มีสิทธิ์หรือไม่ได้รับอนุญาต เช่น เด็กขโมยสูบบุหรี่ เขาขโมยอ่านจดหมายเพื่อน.

ทรัพย,ทรัพย-,ทรัพย์

หมายถึง[ซับพะยะ-, ซับ] น. เงินตรา เช่น ไม่มีทรัพย์ติดตัว, สมบัติพัสถาน เช่น เขาเป็นคนมีทรัพย์; (กฎ) วัตถุมีรูปร่าง; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ถือว่ามีค่า อาจไม่มีรูปร่างก็ได้ เช่น มีปัญญาเป็นทรัพย์ อริยทรัพย์. (ส. ทฺรวฺย).

ยากจน

หมายถึงว. เข็ญใจ, ไร้ทรัพย์.

ฉ้อ

หมายถึงก. โกง เช่น ฉ้อทรัพย์.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ