ค้นเจอ 26 รายการ

จองเวรจองกรรม

หมายถึงก. ผูกอาฆาตพยาบาทไม่มีที่สิ้นสุด.

เวรกรรม

หมายถึง[เวนกำ] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนในอดีต เช่น ไม่รู้ว่าเวรกรรมอะไรต้องมาตกระกำลำบากเมื่อแก่, กรรมเวร หรือ เวร ก็ว่า.

กุเวร

หมายถึง[-เวน] น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจำทิศอุดร, ท้าวเวสวัณ หรือ ท้าวเวสสุวัณ ก็เรียก. (ป., ส.).

จองเวร

หมายถึงก. ผูกอาฆาตพยาบาท.

ทำเวร

หมายถึงก. ผลัดเปลี่ยนเวรกันทำงาน โดยเฉพาะทำความสะอาดห้องเรียนของนักเรียน; ก่อเวร, ผูกเวร, ทำเวรทำกรรม ก็ว่า.

นายเวร

หมายถึงน. นายตำรวจชั้นสัญญาบัตร มีหน้าที่เป็นเลขานุการของผู้ที่มีตำแหน่งสูงกว่าตน เช่น นายเวรผู้บังคับการ นายเวรผู้บัญชาการ นายเวรอธิบดี หรือเป็นหัวหน้าปกครองเจ้าหน้าที่เสมียนพนักงานในบังคับบัญชาเป็นต้น; เจ้าหน้าที่การทูตชั้นผู้น้อยในสถานกงสุล.

เวรี

หมายถึงน. คนจองเวรกัน, ศัตรู. (ป.; ส. ไวรี).

อยู่เวร

หมายถึงก. ผลัดกันอยู่รักษาหน้าที่ตามเวลาที่กำหนดไว้.

หมดเวรหมดกรรม

หมายถึงก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป, สิ้นกรรม สิ้นกรรมสิ้นเวร สิ้นเวร หรือ สิ้นเวรสิ้นกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.

เป็นวรรคเป็นเวร,เป็นวักเป็นเวน

หมายถึงว. ไม่รู้จักจบจักสิ้น เช่น ร้องไห้เป็นวรรคเป็นเวร.

รับเวร

หมายถึงก. เข้ารอบผลัดกันรับหน้าที่ตามเวลาที่กะกันไว้.

เวร

หมายถึงน. ความพยาบาท, ความปองร้าย, บาป, เช่นเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนในอดีต เช่นเวรของฉันแท้ ๆ ทำเงินเดือนหายไปทั้งเดือน, กรรมเวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า. (ป.; ส. ไวร).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ