ตัวกรองผลการค้นหา
จรุง,จรูง
หมายถึง[จะรุง, จะรูง] (กลอน) ก. จูง, ชักชวน, เช่น ปลดยากพรากทุกข์ยุคเขิน จรุงราษฎร์ดำเนิน สู่ศุขสวัสดีโดยไว. (ดุษฎีสังเวย); ยั่ว เช่น จรุงใจ; กรุ่น, อบอวล, ชื่น, เช่น จรุงกลิ่นแก้มน้องแก้ว ไป่วาย. (กำสรวล).
ชอบ
หมายถึงก. พอใจ เช่น ชอบอ่านหนังสือ ชอบเที่ยว; ถูกต้อง เช่น คิดชอบ ชอบแล้ว; เหมาะ เช่น ชอบด้วยกาลเทศะ; ถูกใจ, ถูกกัน, เช่น เขาชอบกันมาก, บางทีใช้หมายความไปในเชิงว่ารักใคร่ ก็มี เช่น หนุ่มสาวชอบกัน; มีสิทธิ์ เช่น ชอบที่จะทำได้.
แต่งหน้า
หมายถึงก. ใช้เครื่องสำอางเสริมแต่งใบหน้าให้สวยขึ้น, ใช้เครื่องสำอางเสริมแต่งใบหน้าให้มีลักษณะต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับบทบาทในการแสดงละครเป็นต้น, ผ่าตัดตกแต่งใบหน้าให้ดูสวยหรือดูหนุ่มสาวขึ้น.
กะริงกะเรียด
หมายถึง(โบ) ว. คำพ้อชนิดหนึ่งว่าทำเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย คล้ายทำก้อร่อก้อติก เช่น เป็นหญิงเจ้าแม่อา อย่าทำกะริงกะเรียด ตัวเจ้ายังน้อยสักเท่าเขียด เจ้ามาวอนแม่จะมีผัว. (มโนห์รา).
ธรรมปฏิสัมภิทา
หมายถึงน. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความเข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้. (ป.).
กะ
หมายถึงว. ใช้รวมกับคำวิเศษณ์ เช่น เหมือนกะ ราวกะ ถึงกะ. บ. ใช้นำหน้าผู้รับพูดหรือรับบอก เช่น พี่พูดกะน้อง เขากล่าวกะฉัน เขาบอกกะท่าน. สัน. ใช้แทนคำว่า กับ เช่น ยายกะตา, ใช้แทนคำว่า แก่ เช่น มีกะใจ. (เป็นคำเสียงกร่อนมาจาก กับ หรือ แก่).
เชษฐ,เชษฐ-,เชษฐ-
หมายถึง[เชดถะ-] น. พี่ผู้เป็นใหญ่ เช่น เชษฐบุรุษ. (ป. เชฏฺ; ส. เชฺยษฺ). ว. “เจริญที่สุด”. (ส.; ป. เชฏฺ), (ราชา) ถ้าใช้ว่า พระเชษฐภคินี หมายถึง พี่สาว, ถ้าใช้ว่า พระเชษฐภาดา หมายถึง พี่ชาย, ถ้าใช้ว่า พระเชษฐา หมายถึง พี่ชาย.
กปณก
หมายถึง[กะปะนก] น. ผู้อนาถา, ผู้ไร้ญาติ, ผู้น่าสงสาร, เขียนเป็น กปนก ก็มี เช่น เถ้ากปนกแพนกพล้าว มีแม่ย้าวสาวศรหนึ่งน้นน. (ม. คำหลวง ชูชก). (ป. กปณ).
จก
หมายถึงก. ฉก เช่น ระวังงูจะจกเอา, ล้วง เช่น รู้สึกเหมือนกับว่ามีมือใครมาจกกระเป๋า, ควัก เช่น น้องคงแอบมาจกเงินไป ๕๐๐ บาท, ขุด เช่น จกแรง ๆ หน่อย ทำอย่างนี้พรุ่งนี้ก็ไม่ได้สักหลุม, คุ้ย, สับ เช่น เอาจอบจกลงไปตรงนั้นซิ; เอาตัวมา เช่น คุณต้องไปจกตัวเขามาให้ได้.
ทรนาว,ทระนาว
หมายถึง[ทอระ-] ว. ระนาว, มากมาย, เช่น พบโพหนึ่งในไพรสณฑ์ สาขานฤมล แลลำทรนาวสาวสาร. (สมุทรโฆษ), งั่วนาวทรนาวเนก กรูดฉุรเฉกจรุงธาร. (ม. คำหลวง จุลพน).
ละครร้อง
หมายถึงน. ละครแบบหนึ่ง ได้รับอิทธิพลจากละครแบบยุโรป ตัวละครร้องเพลงเองในการดำเนินเรื่องตลอดทั้งเรื่อง มีบทเจรจาตามเนื้อเพลงที่ตัวละครร้องจบไป มีการจัดฉากและแต่งกายตามสมัยที่ปรากฏในเรื่อง เช่น ละครร้องเรื่องพระร่วง เรื่องสาวเครือฟ้า.
เสียรูปทรง,เสียรูปเสียทรง
หมายถึงก. ผิดไปจากรูปทรงเดิม, ผิดไปจากรูปทรงที่ถือว่างาม, เช่น เขาป่วยหนักมา ๓ เดือน ผอมมากจนเสียรูปเสียทรงหมด ตอนสาว ๆ ก็รูปร่างดี พอมีอายุมากขึ้น อ้วนเผละจนเสียรูปทรงหมด.