ค้นเจอ 319 รายการ

คนละไม้คนละมือ

หมายถึง(สำ) ต่างคนต่างช่วยกันทำ.

คละ

หมายถึง[คฺละ] ว. ลักษณะที่ปนกัน ทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ทั้งดีและไม่ดี เช่น ผลไม้ผลเล็กผลใหญ่ปนกัน เรียกว่า คละกัน.

จะละเม็ด

หมายถึงน. ชื่อปลาทะเลในวงศ์ Stromateidae รูปร่างป้อม ค่อนข้างสั้น ลำตัวแบนข้างมาก หัวเล็กมน ปากเล็ก เกล็ดเล็ก บริเวณคอดหางไม่มีสันคม ได้แก่ จะละเม็ดขาว (Pampus argenteus) หางเป็นแฉกยาว เว้าลึก จะละเม็ดเทา (P. chinensis) หางเว้าตื้น ทั้ง ๒ ชนิดนี้ไม่มีครีบท้อง ส่วนจะละเม็ดดำ (Parastromateus niger) ที่บริเวณคอดหางเป็นสันคม และมีครีบท้องเฉพาะในปลาขนาดเล็ก.

ฉุกละหุก

หมายถึงก. สับสนวุ่นวายเพราะมีเรื่องเกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วนโดยไม่คาดฝัน.

ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

หมายถึง(สำ) ลงทุนไปโดยได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน, ใช้จ่ายทรัพย์ในทางที่ไม่เกิดประโยชน์, เสียทรัพย์ไปโดยไม่ได้ประโยชน์อะไร.

น้ำละว้า

หมายถึงดู นํ้าว้า.

ปะเหลาะ,ปะเหลาะปะแหละ

หมายถึงก. พูดจาหว่านล้อมเอาอกเอาใจ เช่น ผู้ใหญ่ปะเหลาะเด็ก, พูดหรือทำสนิทชิดชอบให้เขาพึงใจเพื่อหวังประโยชน์ตน.

เปศละ

หมายถึง[เปสะละ] ว. ซึ่งประดับตกแต่งโดยฝีมือช่าง; งาม, สวย, น่ารัก, น่าชอบใจ, อ่อน, น่วม, ละมุนละม่อม; เก่ง, ชำนาญ, เชี่ยวชาญ, มีเล่ห์กล, มีอุบาย. (ส.).

เผละผละ

หมายถึงว. อ้วนจนเนื้อเหลวไม่มีรูปมีทรง เช่น อ้วนเผละผละ.

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

หมายถึง(กฎ) น. ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้รับประเมินผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น.

ไม่มีวันเสียละ

หมายถึง(ปาก) ว. ไม่มีทางจะเป็นไปได้.

เรือกอและ

หมายถึงน. เรือประมงตามชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ รูปร่างยาวเพรียว หัวและท้ายเรือแหลมสูง เขียนลวดลายสีสันต่าง ๆ ไว้อย่างสวยงาม.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ