ค้นเจอ 378 รายการ

สัปดน

หมายถึง[สับปะดน] ว. หยาบโลน เช่น พูดสัปดนสองแง่สองง่าม, อุตรินอกแบบนอกแผน เช่น เด็กคนนี้ชอบเล่นสัปดน เอาประทัดผูกหางหมาแล้วจุด, (ปาก) ใช้ว่า สัปโดกสัปดน.

ทวดึงส์,ทวัตดึงส์

หมายถึง[ทะวะดึง, ทะวัดดึง] (แบบ) ว. สามสิบสอง. (ป. ทฺวตฺตึส; ส. ทฺวาตฺรึศตฺ).

เจ้าทุกข์

หมายถึงน. ผู้ที่เสียหายได้รับทุกข์หรือเดือดร้อน, ผู้ที่ไม่มีความสุขใจ. ว. ที่มีหน้าเศร้าอยู่เสมอ เช่น เด็กคนนี้อาภัพ หน้าตาเจ้าทุกข์.

นิจศีล

หมายถึง[นิดจะสีน] น. ศีลที่ควรรักษาเป็นนิจ ได้แก่ ศีล ๕. ว. เป็นปรกติเสมอไป, มักใช้ว่า เป็นนิจศีล. (ป. นิจฺจสีล).

เสียงหลง

หมายถึงน. เสียงที่แผดดังผิดปรกติ เช่น เธอตกใจร้องจนเสียงหลง; เสียงที่ผิดระดับเสียงดนตรี เช่น เขาเป็นนักร้องไม่ได้ เพราะร้องเสียงหลงอยู่เสมอ.

ฉันวุติ

หมายถึง[ฉันนะวุดติ] ว. เก้าสิบหก เช่น เป็นที่หมายฉันวุติโรค. (สิบสองเดือน). (ป. ฉนฺนวุติ).

รุ่ย

หมายถึงว. หลุดออกจากที่เดิมทีละเล็กละน้อย เช่น ด้ายชายผ้ารุ่ยไปทีละเส้นสองเส้น.

ทรสองทรสุม

หมายถึง[ทอระสองทอระสุม] (กลอน) ก. ซ่องสุม, ประชุมกัน, เช่น ดูทรสองทรสุมผกา. (ม. คำหลวง มหาพน).

จะจะ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

จะ ๆ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

เสกสรรปั้นเรื่อง

หมายถึงก. แต่งเรื่องขึ้นมาโดยจะมีความจริงหรือไม่ก็ได้เพื่อให้เข้าใจผิด เช่น คนคนนี้ช่างเสกสรรปั้นเรื่องมาเล่าให้ผู้ใหญ่ผิดใจกันอยู่เสมอ.

ดุล,ดุล-

หมายถึง[ดุน, ดุนละ-] น. ตราชู, คันชั่ง, มาตราชั่งนํ้าหนักโบราณ เช่น ทองคำหนัก ๒๐ ชั่ง เรียกว่า ดุลหนึ่ง; ความเท่ากัน, ความเสมอกัน, เช่น รายรับรายจ่ายเท่ากัน เรียกว่า งบประมาณสู่ดุล; ชื่อกลุ่มดาวรูปคันชั่ง เรียกว่า ราศีดุล เป็นราศีที่ ๖ ในจักรราศี, ราศีตุล ก็ว่า. ว. เท่ากัน, เสมอกัน, ทัดเทียมกัน. (ป., ส.).

แผด

หมายถึง[ผะแด] น. บท (ใช้ในกลอน) เช่น จบสิบสองกำนัน ครูไม้หนึ่ง ๑๔ แผด. (กาพย์ขับไม้). (ข.).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ