ค้นเจอ 273 รายการ

ฝนแสนห่า

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Argyreia capitiformis (Poir.) Ooststr. ในวงศ์ Convolvulaceae เถามียางขาว ใบออกสลับกัน โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ดอกใหญ่ สีม่วงแดงหรือสีชมพูลักษณะคล้ายดอกผักบุ้ง. (๒) ชื่อไม้เถาชนิด Myxopyrum smilacifolium Blume ในวงศ์ Oleaceae เถาไม่มียาง ใบออกตรงข้ามกัน ดอกเล็กมาก สีเหลืองอ่อน เนื้อไม้ใช้ทำยาได้. (๓) ดู อบเชย.

โป๊ยเซียน

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่มชนิด Euphorbia milii Des Moul. ในวงศ์ Euphorbiaceae ต้นเป็นเหลี่ยม มีหนามแหลมเรียงเวียนรอบต้น มียางขาว ดอกเล็ก มีหลายสี เช่น สีแดง ชมพู เหลืองอ่อน ออกเป็นกระจุก.

สรัสวดี

หมายถึง[สะรัดสะวะดี] น. เทวีองค์หนึ่งในลัทธิศักติของศาสนาฮินดู เป็นชายาของพระพรหม ถือว่าเป็นเทวีแห่งศิลปวิทยา มีหลายชื่อ เช่น ภารตี พราหมี สารทา, ไทยใช้ว่า สุรัสวดี ก็มี. (ส. สรสฺวตี).

เดียรัจฉาน

หมายถึง[-รัดฉาน] น. สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่นหมู หมา วัว ควาย (มักใช้เป็นคำด่า), ใช้ว่า ดิรัจฉาน หรือ เดรัจฉาน ก็มี. (ป. ติรจฺฉาน ว่า ขวาง, ติรจฺฉานคต ว่า สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง).

สังโยชน์

หมายถึงน. เครื่องพัวพัน, เครื่องผูกรัด, หมายเอากิเลสที่ผูกคนไว้กับวัฏสงสาร มี ๑๐ อย่าง มีสักกายทิฐิเป็นต้น พระอริยบุคคลเมื่อละสังโยชน์เป็นลำดับจนหมดก็เป็นพระอรหันต์. (ป. สํโยชน, สญฺโชน; ส. สํโยชน).

เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง

หมายถึง(สำ) ก. ทำเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกำลังทรัพย์หรือความสามารถพอ, มีความหมายอย่างเดียวกับ เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น หรือเห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานรัดก้น.

ทน

หมายถึงก. อดกลั้นได้, ทานอยู่ได้, เช่น ทนด่า ทนทุกข์ ทนหนาว, ไม่แตกหักหรือบุบสลายง่าย เช่น ของดีใช้ทน ไม้สักทนกว่าไม้ยาง. ว. แข็งแรง, มั่นคง, เช่น ฟันทน, อึด เช่น วิ่งทน ดำนํ้าทน.

หิรัญญิการ์

หมายถึง[หิรันยิกา] น. ชื่อไม้เถา ๒ ชนิดในสกุล Beaumontia วงศ์ Apocynaceae คือ ชนิด B. murtonii Craib และชนิด B. grandiflora Wall. ดอกใหญ่ สีขาว กลิ่นหอมอ่อน ๆ ยางและเมล็ดเป็นพิษ.

บอล

หมายถึงน. ลูกกลมทำด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น หนัง ยาง พลาสติก ภายในมีลมอัด ใช้ในการเล่นกีฬาเป็นต้น, ลูกบอล ก็เรียก. (อ. ball); เรียกงานชุมนุมทางสังคมที่มีลีลาศ รำวง เป็นหลักสำคัญ ว่า งานบอล.

สังโยค

หมายถึงน. การประกอบกัน, การอยู่ร่วมกัน, การผูกรัด; (ไว) ตัวพยัญชนะ ๒ ตัวที่เรียงกัน ตัวหน้าเป็นตัวสะกด ตัวหลังเป็นตัวตาม พยัญชนะที่เป็นตัวสะกด เรียกว่า พยัญชนะสังโยค เช่น มนุสฺส สตฺต พุทฺธ รฏฺ. (ป. สํโยค, สญฺโค; ส. สํโยค).

รัตน,รัตน-,รัตน์,รัตนะ

หมายถึง[รัดตะนะ-, รัด, รัดตะ-] น. แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง เช่น อิตถีรัตนะ คือ นางแก้ว หัตถิรัตนะ คือ ช้างแก้ว; คน สัตว์ หรือสิ่งของที่ถือว่าวิเศษและมีค่ามาก เช่น รัตนะ ๗ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ ๑. จักรรัตนะ-จักรแก้ว ๒. หัตถิรัตนะ-ช้างแก้ว ๓. อัสสรัตนะ-ม้าแก้ว ๔. มณิรัตนะ-มณีแก้ว ๕. อิตถีรัตนะ-นางแก้ว ๖. คหปติรัตนะ-ขุนคลังแก้ว ๗. ปริณายกรัตนะ-ขุนพลแก้ว; ของประเสริฐสุด, ของยอดเยี่ยม, เช่น รัตนะ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน; ใช้ประกอบคำอื่นหมายถึงยอดเยี่ยมในพวกนั้น ๆ เช่น บุรุษรัตน์ นารีรัตน์ รัตนกวี. (ป. รตน; ส. รตฺน).

ยืด

หมายถึงก. ขยายตัวให้ยาวออกไปได้ เช่น ยางยืด ผ้ายืดออกไป, ขยายเวลาให้นานออกไป เช่น ยืดเวลา. ว. เรียกสิ่งที่ขยายตัวให้ยาวหรือกว้างออกไปเช่นนั้น เช่น เสื้อยืด กางเกงยืด; ยาว เช่น น้ำลายไหลยืด; นาน, ยืนนาน, เช่น อยู่กันยืด.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ