ค้นเจอ 2,943 รายการ

จันทรเม็ด

หมายถึง[จันทะระ-] (แบบ) น. ปลาจะละเม็ด เช่น ปลาแมวลิ้นหมาปลาหมู คชราราหู มีจันทรเม็ดและทรมาง. (สมุทรโฆษ).

ย้อม

หมายถึงก. ชุบด้วยสี, อาบด้วยสี, ทำให้ด้าย ไหม หรือผ้าเป็นต้นเป็นสีต่าง ๆ ด้วยการชุบลงไปในน้ำสี.

ศิษยานุศิษย์

หมายถึง[สิดสะยานุสิด] น. ศิษย์น้อยใหญ่.

โศก

หมายถึงว. สีเขียวอ่อนอย่างสีใบอโศกอ่อน เรียกว่า สีโศก.

หง

หมายถึงว. มีสีแดงเจือสีขาวทำให้สีแดงนั้นอ่อนลง เช่น หงเสน คือ สีแดงเสนผสมสีขาว, หงชาด คือ สีแดงชาดผสมสีขาว หงดิน คือ สีแดงเลือดหมูผสมสีขาว.

กำกวม

หมายถึงน. นกขนปีกสีเขียว ปากแดง กินกุ้งและปลา. (พจน. ๒๔๙๓).

ไตปลา

หมายถึงน. คำเรียกรวมของอวัยวะในช่องท้องของปลาบางชนิดเช่นปลาทูที่ควักออกมา รวมทั้งส่วนของเหงือกปลาด้วย แล้วนำไปหมักเกลือ ใช้ประกอบอาหารบางชนิดเช่นแกง เรียกว่า แกงไตปลา; ไตของปลา ซึ่งเป็นอวัยวะติดกับช่องท้องด้านบนติดกระดูกสันหลังของปลา.

เชือก

หมายถึงน. สิ่งที่ทำด้วยด้ายหรือป่านปอเป็นต้น มักฟั่นหรือตีเกลียวสำหรับผูกหรือมัด; ลักษณนามเรียกช้างบ้าน เช่น ช้างเชือกหนึ่ง ช้าง ๒ เชือก.

บัวโรย

หมายถึงว. สีกลีบบัวแห้งหรือสีปูนแห้ง.

ไววรรณ

หมายถึงน. สีจาง, สีซีด. (ส. วิวรฺณ).

อุโบสถ,อุโบสถ,อุโบสถหัตถี

หมายถึง[อุโบสด, อุโบสดถะ-] น. ชื่อช้าง ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองคำ, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดำ ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือนน้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สีทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคำ ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง.

เลือดหมู

หมายถึงว. สีแดงคล้ำอย่างสีเลือดของหมู.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ