ค้นเจอ 215 รายการ

กัญชา

หมายถึง[กัน-] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Cannabis sativa L. ในวงศ์ Cannabidaceae ใบมนแฉกลึกเข้าไปทางก้านหลายแฉก ดอกสีเขียว ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ใบและช่อดอกเพศเมียที่แห้งเรียก กะหลี่กัญชา ใช้สูบปนกับยาสูบ มีสรรพคุณทำให้มึนเมา เปลือกลำต้นใช้ทำเชือกป่าน และทอผ้า.

กำยาน

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล Styrax วงศ์ Styracaceae ขึ้นตามป่าเขาในระดับสูง ใบเดี่ยว ด้านบนสีขาว ดอกสีขาว หอมอ่อน ๆ ไม้ต้นชนิดนี้ บางชนิดเมื่อเปลือกถูกกรีดหรือมีราลง ก็จะขับยางใสกลิ่นหอมออกมา เมื่อแห้งจะแข็งติดอยู่กับลำต้น แกะออกมาได้ เรียกว่า กำยาน. (๒) ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่ง มีกลิ่นหอม เรียกว่า กล้วยกำยาน. (พจน. ๒๔๙๓).

น้ำเต้า

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้เถาล้มลุกชนิด Lagenaria siceraria Standl. ในวงศ์ Cucurbitaceae อยู่ในจำพวกฟักแฟง ดอกสีขาว ผลกินได้ เมื่อแก่แห้งใช้เป็นภาชนะได้; อวัยวะส่วนที่อยู่โคนงวงช้าง มีรูปโป่งคล้ายลูกนํ้าเต้า; ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือจะเป็นผู้ซัดหรือฝัดลูกบาศก์ซึ่งมี ๖ หน้า เขียนเป็นรูป นํ้าเต้า ปู ปลา เสือ ไก่ และกุ้ง ให้ลูกค้าแทง. (๒) โกฐนํ้าเต้า. (ดู โกฐนํ้าเต้า).

ตะขาบ

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Coraciidae ตัวป้อม หัวใหญ่ ปากใหญ่สั้นโค้ง เกาะอยู่ตามสายไฟและกิ่งไม้แห้งเพื่อคอยจ้องโฉบแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ตามพื้นดิน อยู่ตามลำพัง ทำรังในโพรงไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ตะขาบทุ่ง (Coracias benghalensis) ตัวสีนํ้าตาล หัวและปีกสีฟ้า ปากสีดำ และตะขาบดง (Eurystomus orientalis) ตัวสีนํ้าเงินเข้มหรือเขียวอมน้ำเงินโดยตลอด ปากสีแดง.

หาง

หมายถึงน. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลำตัวสัตว์, ขนสัตว์จำพวกนก เช่น กา ไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น; ส่วนท้ายหรือปลาย เช่น หางเชือก หางแถว; ในราชาศัพท์เรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง; ลักษณนามเรียกปลาช่อนตากแห้งเช่น ปลาช่อนหางหนึ่ง ปลาช่อน ๒ หาง; เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสงลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง; เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วนที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง เช่น หางเหล้า หางกะทิ หางนํ้านม; ส่วนของตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง.

มอด

หมายถึงน. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ที่เจาะกินเข้าไปในวัสดุต่าง ๆ ทำให้เกิดเป็นรูพรุนทั่วไปกับทั้งมีวัสดุผสมมูลขับถ่ายออกมาเป็นขุยเป็นเม็ดเล็ก ๆ เรียก ขี้มอด ส่วนใหญ่เป็นแมลงปีกแข็ง เช่น มอดข้าวสาร (Sitophilus oryzae) ในวงศ์ Curculionidae ทำลายข้าวสาร, มอดไม้ไผ่ (Dinoderus minutus) ในวงศ์ Bostrychidae เจาะไม้ไผ่แห้งเป็นรูเท่ารูเข็มกระจายทั่วไป; เรียกหน้าที่เป็นรอย ๆ อย่างมอดเจาะเช่นหน้าคนที่เป็นฝีดาษว่า หน้ามอด.

เบญจมาศ

หมายถึง[เบนจะมาด] น. ชื่อไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Dendranthema morifolium (Ramat.) Tzvel. ในวงศ์ Compositae ใบหนา ใต้ใบมีขนละเอียด รูปใบมีแบบต่าง ๆ ดอกเป็นช่อออกตามปลายกิ่ง มีหลายสี บางพันธุ์โต บางพันธุ์เล็ก บางพันธุ์กลีบดอกซ้อนถี่แน่น บางพันธุ์กลีบดอกยาวบิดเป็นเกลียว ใบหรือกลีบเมื่อขยี้ดมมีกลิ่นฉุน เฉพาะพันธุ์ดอกเล็ก สีขาวกลิ่นหอม เรียก เบญจมาศหนู หรือ เก๊กฮวย ดอกตากแห้งชงกับใบชาหรือต้มกับนํ้าตาล ใช้ดื่มแก้กระหาย.

กระโดงแดง

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Bhesa robusta (Roxb.) Ding Hou ในวงศ์ Celastraceae ลำต้นแดงคลํ้า ใบยาวปลายแหลม เลื่อมเป็นมัน, ประดงแดง กระบกคาย ชมัน ละโมก หรือ พรมคด ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Chionanthus microstigma (Gagnep.) Kiew ในวงศ์ Oleaceae ใบยาวรี หนาแข็ง ปลายใบแหลม ออกตรงข้ามกัน เมื่อแห้งหมาดใช้มวนบุหรี่ได้ มีกลิ่นหอมฉุน, ประดงแดง หรือ ฝิ่นต้น ก็เรียก; และชนิด C. sangda (Gagnep.) Kiew ลักษณะทั่วไปคล้ายชนิดแรก แต่ต้นมีขนาดย่อมกว่า ค่อนไปทางไม้พุ่ม.

แฟ้ม

หมายถึงน. ภาชนะชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่หรือหวาย รูปร่างคล้ายฝาหอยแครงประกบเป็นคู่ ขอบปากตอนบนมีหูสำหรับสอดไม้คานเพื่อหาบไป ใต้หูมีห่วงและลูกสลักสำหรับขัดปาก ขอบด้านล่างถักพันให้ติดกันอย่างบานพับ ใช้ใส่เสบียงกรัง เช่น ปลาย่าง เนื้อเค็ม พริกแห้ง, ที่สำหรับเก็บแผ่นกระดาษ มีปกหน้าปกหลังทำด้วยกระดาษแข็งเป็นต้น มีหลายชนิด เช่น ชนิดเจาะข้าง ชนิดมีสปริงสำหรับหนีบกระดาษ ชนิดมีซองสำหรับใส่เอกสาร, กระเป๋าหิ้วสำหรับใส่เอกสาร.

น้ำตาล

หมายถึงน. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีรสหวาน โดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย, ถ้าเป็นความหมายเฉพาะอย่างและทำด้วยอะไร ก็เติมคำนั้น ๆ ลงไป เช่น ทำจากตาล เรียกว่า นํ้าตาลโตนด, ทำจากมะพร้าว เรียกว่า นํ้าตาลมะพร้าว, ทำเป็นงบ เรียกว่า นํ้าตาลงบ, ทำจากอ้อย แต่ยังไม่ได้ทำให้เป็นนํ้าตาลทราย เรียกว่า นํ้าตาลทรายดิบ, ทำเป็นเม็ด ๆ เหมือนทราย เรียกว่า นํ้าตาลทราย, ทำเป็นก้อนแข็งเหมือนกรวด เรียกว่า นํ้าตาลกรวด, เคี่ยวให้ข้น ๆ เรียกว่า นํ้าตาลตงุ่น, หยอดใส่ใบตาลหรือใบตองแห้งทำเป็นรูปปี่ เรียกว่า นํ้าตาลปี่, หลอมเป็นปึก เรียกว่า นํ้าตาลปึก, หยอดใส่หม้อ เรียกว่า นํ้าตาลหม้อ, บรรจุใส่ปีบ เรียกว่า น้ำตาลปีบ หรือ น้ำตาลปี๊บ, รองมาใหม่ ๆ ยังไม่ได้เคี่ยว เรียกว่า นํ้าตาลสด, ถ้าต้มให้เดือด เรียกว่า น้ำตาลลวก, ถ้าใส่เปลือกตะเคียน มะเกลือ หรือเคี่ยม เป็นต้น หมักไว้ระยะหนึ่งจนมีแอลกอฮอล์ กินแล้วเมา เรียกว่า นํ้าตาลเมา. ว. สีคล้ายสีนํ้าตาลหม้อที่เคี่ยวแก่ไฟ, ถ้าแก่ไฟจนไหม้ เรียกว่า สีนํ้าตาลไหม้.

หมูหย็อง เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

หมูหยอง เป็นคำที่เขียนผิด ❌

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ