ค้นเจอ 540 รายการ

ศีต,ศีต-

หมายถึง[สีตะ-] ว. หนาว, เย็น, เย็นเยือก. (ส.; ป. สีต).

เศวดงค์

หมายถึง[สะเหฺวดง] ว. มีตัวขาว. (ส. เศฺวต + องฺค).

บัญญัติ

หมายถึง[บันหฺยัด] น. ข้อความที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติ พุทธบัญญัติ บัญญัติ ๑๐ ประการ. ก. ตราหรือกำหนดขึ้นไว้เป็นข้อบังคับ เป็นหลักเกณฑ์ หรือเป็นกฎหมาย เช่น บัญญัติศัพท์ บัญญัติกฎหมาย. (ป. ปญฺตฺติ).

ประกฤต

หมายถึง[-กฺริด] (แบบ) ก. ทำ, ทำมาก. (ส. ปฺรกฺฤต; ป. ปกต).

สักฏะ,สักตะ

หมายถึง[สักกะตะ] (แบบ) น. ภาษาสันสกฤต. (ป. สกฺกฏ, สกฺกต).

กรรบิด

หมายถึง[กัน-] น. มีด, ราชาศัพท์ว่า พระกรรบิด. (ข. กำบิต ว่า มีด).

อุณหิส

หมายถึง[อุนนะหิด] น. กรอบหน้า, มงกุฎ. (ป. อุณฺหีส; ส. อุษฺณีษ).

รัตนวราภรณ์

หมายถึงน. ชื่อตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่จะพระราชทานได้ทั่วไปทุกชั้นบุคคลตามพระราชประสงค์ ไม่เกี่ยวด้วยยศหรือบรรดาศักดิ์.

สาปแช่ง

หมายถึงก. กล่าวมุ่งร้ายให้ผู้อื่นเป็นอันตรายอย่างร้ายแรง เช่น สาปแช่งไม่ให้ผุดให้เกิด.

อุปัชฌาย,อุปัชฌาย-,อุปัชฌาย์,อุปัชฌายะ

หมายถึง[อุปัดชายะ-, อุบปัดชายะ-, อุปัดชา, อุบปัดชา] น. พระเถระผู้เป็นประธานการบวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนา. (ป.; ส. อุปาธฺยาย).

สัมปทา

หมายถึง[สำปะทา] น. ความถึงพร้อมด้วยคุณความดี เช่น อุฏฐานสัมปทา = ความถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ป., ส.).

อุบาสก

หมายถึงน. คฤหัสถ์ผู้ชายที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง. (ป., ส. อุปาสก).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ