ค้นเจอ 420 รายการ

กะอูบ

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ผอบ เช่น จึงแก้เอาเสื้อและผ้าคาดศีรษะใส่ในกระอูบคำ. (ประชุมพงศ. ๑๐).

น้อย

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. คำเติมหน้าชื่อแห่งผู้ที่ได้บวชเป็นสามเณรแล้ว, ถ้าได้บวชเป็นภิกษุเติมหน้าชื่อว่า หนาน. (พงศ. ร. ๒).

ประพาส

หมายถึง[ปฺระพาด] (ราชา) ก. ไปต่างถิ่นหรือต่างแดน เช่น ประพาสหัวเมือง ประพาสยุโรป, ไปเที่ยว เช่น ประพาสป่า. (ส.).

กลวง

หมายถึง[กฺลวง] น. บริเวณ, ที่ว่าง, ท่ามกลาง, เช่น ในกลวงป่าตาลนี๋มีศาลาสองอัน. (จารึกสยาม).

จรลิ่ว

หมายถึง[จอระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปไกล, ลอยไป, เช่น เหลียวแลทางจรลิ่ว เหลียวแลทิวเทินป่า. (ลอ).

พนาด

หมายถึงน. เบาะสำหรับปูหลังช้างเพื่อออกป่า เช่น พรายพัสตร์พนาดพร้อม ภูษา. (ยวนพ่าย), ใช้ว่า พระนาด ก็มี.

เวฬุวัน

หมายถึงน. ป่าไผ่; ชื่ออารามครั้งพุทธกาลซึ่งพระเจ้าพิมพิสารสร้างถวายพระพุทธเจ้า อยู่ใกล้เมืองราชคฤห์.

ดัดดั้น

หมายถึงก. ตัดทางไป, ลัดทางไป, เช่น ก็รีบลัดดัดดั้นตามไป. (อิเหนา), ดั้นดัด ก็ใช้ เช่น ดั้นดัดลัดพงดงดาน. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

ภูมิศาสตร์การเกษตร

หมายถึงน. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับการกสิกรรม การเลี้ยงสัตว์ การป่าไม้ และการประมง.

ที่ดินของรัฐ

หมายถึง(กฎ) น. บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้อนุมัติให้บุคคลเข้าอยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ.

ทักข์

หมายถึงก. ดู, แล, เห็น, เช่น เล็งทักข์อาทรเธอ เท่าฟ้า, เล็งทักข์ทุรเวทแล้ว เล็งดอย ดงนา. (ลำน้ำน้อย).

ละเมาะ

หมายถึงน. หมู่ไม้ขนาดเล็ก ซึ่งขึ้นในที่โล่งเป็นหย่อม ๆ, บางทีก็เรียกว่า เกาะ, ถ้ามีลักษณะเป็นป่า ก็เรียกว่า ป่าละเมาะ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ