ค้นเจอ 211 รายการ

มรรค

หมายถึง[มัก] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

มรรคา

หมายถึง[มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ - ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

สร้อย

หมายถึง[ส้อย] น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อให้ครบตามจำนวน เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมายหรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นา เฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ, คำสร้อย ก็ว่า; คำที่เติมหรือประกอบคำอื่นเพื่อให้ไพเราะหรือเต็มความ เช่น เสื้อแสง หนังสือหนังหา, คำต่อท้ายราชทินนาม เช่น พระราชปัญญาสุธี ศรีปริยัติธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ สกลนิติธรรมศาสตราจารย์ มหิบาลมหาสวามิภักดิ์ ปรมัคราชมนตรีอภัยพิริยปรากรมพาหุ.

ปั๊ม

หมายถึงก. ใช้เครื่องที่เป็นแบบพิมพ์ตอกลงหรือกดลงบนกระดาษหรือโลหะเป็นต้นให้มีรูปหรือลวดลายตามแบบพิมพ์นั้น เช่น ปั๊มตรา ปั๊มกระดุม, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ปั๊มแบงก์ ปั๊มเงิน; ใช้เครื่องสูบหรือดูดของเหลวหรือแก๊ส เช่น ปั๊มน้ำ ปั๊มลม, ใช้เครื่องช่วยทำให้หัวใจกลับเต้นเป็นปรกติ เรียกว่า ปั๊มหัวใจ. น. เรียกเครื่องยนต์สำหรับสูบน้ำว่า เครื่องปั๊มน้ำ, เรียกเครื่องยนต์สำหรับสูบลมหรือแก๊สว่า เครื่องปั๊มลม, เรียกเครื่องอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้หัวใจกลับเต้นเป็นปรกติว่า เครื่องปั๊มหัวใจ; (ปาก) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง, เรียกเต็มว่า ปั๊มน้ำมัน.

ขมวน

หมายถึง[ขะหฺมวน] น. ชื่อหนอนของแมลงพวกด้วงปีกแข็งที่กินปลาแห้ง เนื้อแห้ง และอาหารแห้งอื่น ๆ โดยทิ้งรอยให้เห็นเป็นขุยเล็ก ๆ ออกมา เรียกว่า ขี้ขมวน ตัวหนอนมักจะมีสีครีมหรือนํ้าตาลอ่อน ที่พบบ่อยได้แก่ ชนิด Dermestes maculatus ในวงศ์ Dermestidae ซึ่งเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะเป็นด้วงที่มีลำตัวยาวประมาณ ๗ มิลลิเมตร ตัวสีดำ ท้องสีขาวหม่นและมีเส้นสีดำเป็นลายพาดตามขวาง. ว. ผุ, ยุ่ย, ใช้แก่เนื้อแห้งปลาแห้งเป็นต้นที่เก็บไว้นาน ๆ ซึ่งเกิดจากเชื้อราหรือตัวขมวนกัดกิน เช่น ปลาเป็นขมวน เนื้อเป็นขมวน.

กระบี่ธุช

หมายถึงน. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวมต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้าและขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวนพยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.

วงเล็บ

หมายถึงน. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สำหรับใช้กันข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บนั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ (ความอยากได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็นหัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรมสามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือสัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 - b2 = (a + b)(a - b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ