ค้นเจอ 458 รายการ

เสียงแข็ง

หมายถึงว. อาการที่กล่าวออกมาอย่างยืนยันหนักแน่น เช่น เขาเถียงเสียงแข็งว่าเขาทำถูกต้องแล้ว; อาการที่พูดด้วยน้ำเสียงไม่สุภาพ เช่น อย่าพูดเสียงแข็งกับพ่อแม่. น. คะแนนเสียงดี เช่น ในพื้นที่นี้เขามีเสียงแข็งมาก คงได้รับเลือกตั้งแน่.

หมายถึงพยัญชนะตัวต้น เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กก.

อ้อมแขน

หมายถึงน. วงแขนที่โอบไว้ เช่น แม่โอบลูกไว้ในอ้อมแขน.

ทีฆสระ

หมายถึงน. สระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลีได้แก่ อา อี อู เอ โอ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อา อี อู เอ ไอ โอ ฤๅ ฦๅ เอา, ในภาษาไทยได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ.

พระยาเทครัว

หมายถึง(ปาก) น. ชายที่ได้หญิงเป็นภรรยาทั้งแม่ทั้งลูกหรือทั้งพี่ทั้งน้อง.

บาจิกา

หมายถึง(แบบ) น. แม่ครัว. (ป. ปาจิกา). (ดู บาจก).

ปิตุจฉา

หมายถึง[-ตุด-] น. อา (ผู้หญิง), ป้า (ญาติฝ่ายพ่อ). (ป.).

อีหรอบเดียวกัน

หมายถึง(สำ) ว. ทำนองเดียวกัน, แบบเดียวกัน, (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น พ่อเป็นขโมย ลูกก็อีหรอบเดียวกัน.

พณิช

หมายถึง[พะนิด] น. ผู้ค้าขาย, พ่อค้า. (ป., ส. วาณิช).

เอาไม่อยู่

หมายถึงก. ปกครองไม่ได้, ควบคุมไม่ได้, เช่น เด็กคนนี้ซนมากจนพ่อแม่เอาไม่อยู่, ควบคุมให้อยู่ในอำนาจไม่ได้ เช่น ม้าตัวนี้พยศมากจนเจ้าของเอาไม่อยู่, เหลือความสามารถที่จะเยียวยาได้ เช่น โรคของเขาอาการหนักมากแพทย์คงจะเอาไม่อยู่.

หลักฐาน

หมายถึงน. พื้นเพมั่นคง เช่น พ่อแม่เขาเป็นคนมีหลักฐาน, ความมั่นคงอันเป็นพื้นที่ตั้ง เช่น เขามีอาชีพการงานเป็นหลักฐาน; เครื่องแสดงประกอบเพื่อยืนยัน เช่น เขาถูกกล่าวหาโดยไม่มีหลักฐาน; (กฎ) สิ่งที่ใช้พิสูจน์ความถูกต้องหรือความจริง. (อ. evidence).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๒๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ