ค้นเจอ 221 รายการ

ตัวจี๊ด

หมายถึงน. ชื่อพยาธิชนิด Gnathostoma spinigerum ในวงศ์ Gnathostomatidae ลำตัวสีแดง ยาว ๑๐-๕๐ มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยพบในกระเพาะของสุนัข แมว และเสือ ตัวอ่อนพบในปลา ไก่ กบ หรือสัตว์เลื้อยคลาน ติดต่อถึงคนได้เมื่อกินสัตว์เหล่านี้ที่ยังดิบซึ่งมีตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้อยู่ ตัวอ่อนเมื่ออยู่ในคนสามารถเคลื่อนตัวไปตามเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ได้อาจเป็นตุ่มนูนขึ้นมาตามผิวหนังและปวดบวม, หนอนด้น ก็เรียก.

ไร

หมายถึงน. ชื่อสัตว์พวกแมงหลายชนิด ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุดหรือเล็กกว่า ลักษณะคล้ายพวกเห็บแต่ต่างกันที่ไม่มีหนามเล็ก ๆ คลุมรอบปาก และแผ่นแข็งของรูหายใจอยู่บริเวณด้านข้างของลำตัวไม่เลยขาคู่ที่ ๔ ชนิดดูดกินเลือดสัตว์ เช่น ไรไก่ (Dermanyssus spp.) ในวงศ์ Dermanyssidae ชนิดทำลายพืช เช่น ไรแดง (Tetranychus spp.) ในวงศ์ Tetranychidae.

ตะขาบ

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Coraciidae ตัวป้อม หัวใหญ่ ปากใหญ่สั้นโค้ง เกาะอยู่ตามสายไฟและกิ่งไม้แห้งเพื่อคอยจ้องโฉบแมลงหรือสัตว์เล็ก ๆ ตามพื้นดิน อยู่ตามลำพัง ทำรังในโพรงไม้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ตะขาบทุ่ง (Coracias benghalensis) ตัวสีนํ้าตาล หัวและปีกสีฟ้า ปากสีดำ และตะขาบดง (Eurystomus orientalis) ตัวสีนํ้าเงินเข้มหรือเขียวอมน้ำเงินโดยตลอด ปากสีแดง.

ตรึก

หมายถึง[ตฺรึก] ก. หมด, สิ้น, เปลือง, น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึก, มิตรึก, เช่น จึงองค์มิสาระปันหยี จึงตอบว่าข้าจะให้ไก่ดีดี ของเรามีไม่ตรึกอย่าร้อนใจ. (อิเหนา), ท่านก็ไม่ขัดสนจนพราย มากมายตามพรูอยู่มิตรึก แรกรักจะรำพันให้ครั่นครึก. (ขุนช้างขุนแผน), ฤๅจะใคร่ได้เมียสาว ๆ ขาว ๆ ดี ๆ มีไม่ตรึก. (มณีพิชัย).

น้ำเต้า

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้เถาล้มลุกชนิด Lagenaria siceraria Standl. ในวงศ์ Cucurbitaceae อยู่ในจำพวกฟักแฟง ดอกสีขาว ผลกินได้ เมื่อแก่แห้งใช้เป็นภาชนะได้; อวัยวะส่วนที่อยู่โคนงวงช้าง มีรูปโป่งคล้ายลูกนํ้าเต้า; ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง เล่นโดยเจ้ามือจะเป็นผู้ซัดหรือฝัดลูกบาศก์ซึ่งมี ๖ หน้า เขียนเป็นรูป นํ้าเต้า ปู ปลา เสือ ไก่ และกุ้ง ให้ลูกค้าแทง. (๒) โกฐนํ้าเต้า. (ดู โกฐนํ้าเต้า).

บัตร

หมายถึง[บัด] น. แผ่นเอกสารแสดงสิทธิของผู้ใช้เป็นต้น มักทำด้วยกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เช่น บัตรประจำตัว บัตรเลือกตั้ง บัตรสมนาคุณ; ภาชนะทำด้วยกาบกล้วย เป็นรูปกระบะสำหรับวางเครื่องเซ่นสังเวย, ถ้าทำเป็นรูปสามเหลี่ยม เรียกว่า บัตรคางหมู, ถ้าทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม เรียกว่า บัตรกรุงพาลี หรือ บัตรพระภูมิ; ใบไม้, กลีบดอกไม้ เช่น ปทุมบัตร; ขนปีก, ปีก เช่น หากันกระสันโบย บัตรเรียกมารังเรียง. (สมุทรโฆษ). (ส. ปตฺร; ป. ปตฺต).

สุก

หมายถึงก. พ้นจากห่าม เช่น ผลไม้สุก, เปลี่ยนสภาพจากดิบด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ อย่างต้ม ผัด ย่าง เป็นต้น เช่น ต้มไก่สุกแล้ว ย่างเนื้อให้สุก, ถึงระยะที่ได้ที่หรือแก่จัดแล้ว เช่น ข้าวในนาสุกเกี่ยวได้แล้ว ฝีสุกจนแตก ต้อสุกผ่าได้แล้ว, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ร้อนจนเนื้อตัวจะสุกแล้ว ถูกเขาต้มจนสุก, เรียกชายที่บวชเป็นพระภิกษุและสึกแล้วว่า คนสุก; ปลั่งเป็นมันแวววาว เช่น ทองเนื้อสุกดี.

หาง

หมายถึงน. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลำตัวสัตว์, ขนสัตว์จำพวกนก เช่น กา ไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น; ส่วนท้ายหรือปลาย เช่น หางเชือก หางแถว; ในราชาศัพท์เรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง; ลักษณนามเรียกปลาช่อนตากแห้งเช่น ปลาช่อนหางหนึ่ง ปลาช่อน ๒ หาง; เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสงลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง; เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วนที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง เช่น หางเหล้า หางกะทิ หางนํ้านม; ส่วนของตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง.

ทำ

หมายถึงก. กระทำ, ประกอบขึ้น, ผลิตขึ้น, สร้างขึ้น, ก่อขึ้น, เช่น ทำเก้าอี้ ทำโต๊ะ ทำรองเท้า ทำรัง; ประกอบการงาน เช่น ทำนา ทำสวน ทำโป๊ะ; ดำเนินการ, ปฏิบัติงาน, เช่น ทำหน้าที่ประธาน ทำตามคำสั่ง ทำตามกฎหมาย; แต่งให้งาม เช่น ทำผม ทำนัยน์ตา ทำจมูก; คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น ทำเลข ทำการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทำวัตร ทำศพ; แสดง เช่น ทำบท ทำเพลง ทำเบ่ง; (ปาก) ศึกษาในระดับปริญญา เช่น ทำปริญญา ทำดอกเตอร์.

ชันโรง

หมายถึง[ชันนะ-] น. ชื่อผึ้งขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Apidae เช่น ชนิด Trigona terminata, Melipona apicalis โดยทั่วไปมีขนาดลำตัวยาวไม่เกิน ๑๐ มิลลิเมตร อกกว้างไม่เกิน ๒.๕ มิลลิเมตร อยู่รวมกันเป็นฝูงและแบ่งวรรณะเป็นผึ้งผู้ ผึ้งเมีย และผึ้งงานเหมือนกัน แต่ผึ้งงานไม่มีเหล็กในเหมือนผึ้งธรรมดา รังทำจากขี้ผึ้งผสมขี้ดินและยางไม้ ขนาดหอยโข่งหรือตะโหงกวัว จึงมักจะเรียกผึ้งหอยโข่ง หรือผึ้งตะโหงกวัว แต่มีชื่ออื่นอีกมากมายแตกต่างไปตามท้องถิ่น เช่น หูด ขี้ตังนี หรือ กินชัน, อีสานเรียก ขี้สูด.

ธาตุ

หมายถึง[ทาด, ทาตุ-] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคำนั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่น-อีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.

เนื้ออ่อน

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด มีฟันเล็กแต่แหลมคม ลำตัวแบนข้างมากบ้างน้อยบ้าง เช่น ชนิด Kryptopterus apogon, K. cryptopterus, K. bleekeri, K. limpok, Ompok bimaculatus, Siluroides hypophthalmus, Ceratoglanis scleronema ข้างท้องมักเป็นสีเงิน ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๒๐-๗๗ เซนติเมตร อาจมีหรือไม่มีครีบหลังก็ได้ บางชนิดลำตัวด้านหลังสีเทาอมเขียวหรือสีนํ้าตาล, มีชื่อไทยที่เรียกแตกต่างกันหรือซํ้าซ้อนกันระหว่างชนิด ได้แก่ ชะโอน โอน แดง นาง เกด ปีกไก่ นํ้าเงิน หน้าสั้น สยุมพร หรือ เซือม.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ