ค้นเจอ 509 รายการ

สนับนิ้ว,สนับนิ้วมือ

หมายถึงน. ปลอกโลหะสวมปลายนิ้วมือสำหรับดุนก้นเข็มเพื่อไม่ให้เจ็บนิ้วมือ.

สนิท

หมายถึง[สะหฺนิด] ว. อย่างใกล้ชิด, ชิดชอบ, เช่น เพื่อนสนิท คนสนิท เขาสนิทกันมาก, แนบชิด เช่น เข้าปากไม้ได้สนิท; กลมกล่อม, กลมกลืน, ในลักษณะที่เข้ากันได้ดีไม่มีอะไรบกพร่อง ซึ่งดูประหนึ่งว่าเป็นเนื้อเดียวหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประตูปิดสนิท สีเข้ากันสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน ผนังห้องแต่ละด้านแม้จะทาสีต่างกันแต่สีก็เข้ากันได้สนิท; อย่างแท้จริง หรือทั้งหมดโดยไม่มีอะไรแทรกหรือเจือปน เช่น มะปรางหวานสนิท เชื่อสนิท ตีหน้าสนิท. (ป. สินิทฺธ ว่า เสน่หา, รักใคร่; ส. สฺนิคฺธ).

สนิทใจ

หมายถึงว. ไม่มีอะไรต้องแคลงใจหรือสงสัย เช่น เชื่ออย่างสนิทใจ, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่สนิทใจ หมายความว่า มีลักษณะพึงรังเกียจ เช่น พื้นสกปรกนั่งแล้วไม่สนิทใจ ผ้าเช็ดมือในห้องน้ำรวม ใช้ได้ไม่สนิทใจเลย.

สนิทปาก

หมายถึงว. ไม่รู้สึกกระดากใจหรือตะขิดตะขวงใจ เช่น พูดเท็จได้สนิทปาก พูดคำหยาบโลนได้สนิทปาก, สนิทปากสนิทคอ ก็ว่า.

สนิทสนม

หมายถึงก. ชอบพอ, คุ้นเคยกันดี, เช่น สองคนนี้สนิทสนมกันมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก. ว. แนบเนียน เช่น เขาพูดเท็จได้อย่างสนิทสนม เขาชำระแผลให้คนเป็นโรคเรื้อนได้อย่างสนิทสนมโดยไม่รังเกียจ.

สังยุตนิกาย

หมายถึง[สังยุดตะ-] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๓ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดประมวล คือ ประมวลเรื่องประเภทเดียวกันไว้ด้วยกันทั้งหมด.

สัญนิยม

หมายถึง[สันยะนิยม] น. การปฏิบัติหรือธรรมเนียมทั่วไปที่ใช้กันอยู่ในกลุ่มสังคมในขณะนั้น เช่น การไหว้เป็นสัญนิยมอย่างหนึ่งของคนไทย การใช้ตะเกียบคีบอาหารเป็นสัญนิยมในการกินอาหารของคนจีน. (อ. convention).

อนิฏฐารมณ์

หมายถึง[อะนิดถารม] น. อารมณ์หรือสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าพอใจ ได้แก่ ความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ นินทา ทุกข์, ตรงข้ามกับ อิฏฐารมณ์. (ป. อนิฏฺารมฺมณ).

อนิวรรต,อนิวรรตน์

หมายถึง[อะนิวัด] ว. ไม่กลับ, ไม่ท้อถอย. (ส. อนิวรฺต, อนิวรฺตน; ป. อนิวตฺต, อนิวตฺตน).

อภินิหาร

หมายถึงน. อำนาจแห่งบารมี, อำนาจบุญที่สร้างสมไว้, อำนาจเหนือปรกติธรรมดา. (ป. อภินีหาร; ส. อภิ + นิสฺ + หาร).

อาชานะ,อาชานิ

หมายถึงน. กำเนิด, ตระกูล. (ส.).

อินทนิล,อินทนิลน้ำ

หมายถึง[-ทะนิน] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Lagerstroemia speciosa Pers. ในวงศ์ Lythraceae ดอกสีม่วงแดงหรือชมพู ออกเป็นช่อตั้งตรง เมล็ดและใบใช้ทำยาได้.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ