ตัวกรองผลการค้นหา
วัชร-
หมายถึง[วัดชะระ-] น. ดู วชิระ. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
ดุรค,ดุรคะ
หมายถึง[ดุรก, ดุระคะ] (แบบ) น. ม้า. (ป., ส. ตุรค ว่า สัตว์ไปเร็ว).
นรสิงห์,นรสีห์
หมายถึง[นอระ-] น. คนปานสิงห์, นักรบผู้มหาโยธิน. (ส., ป.).
พีร,พีร-
หมายถึง[พีระ-] น. ผู้เพียร, ผู้กล้า, นักรบ. (ป., ส. วีร).
รชกะ
หมายถึง[ระชะกะ] น. คนย้อมผ้า, คนซักผ้า. (ป., ส.).
เสถียร,เสถียร-
หมายถึง[สะเถียน, -เถียนระ-] ว. มั่นคง, แข็งแรง, คงตัว. (ส. สฺถิร; ป. ถิร).
ปรมาภิเษก
หมายถึง[ปะระ-, ปอระ-] น. อภิเษกอย่างยิ่ง คือ การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. (ส.).
ปฏิกิริยา
หมายถึงน. การกระทำตอบสนอง; การกระทำต่อต้าน; ผลของการกระทำซึ่งเป็นเหตุให้เกิดกิริยาสะท้อนมาเป็นอีกอย่างหนึ่ง; (เคมี) การเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร. (ป. ปฏิ ว่า ตอบ, ทวน, กลับ + กิริยา ว่า การกระทำ). (อ. reaction).
ประสันนาการ
หมายถึงน. อาการเลื่อมใส. (ป. ปสนฺนาการ).
สูป,สูป-,สูปะ
หมายถึง[สูปะ-] น. ของกินที่เป็นนํ้า, แกง, ของต้มที่เป็นนํ้า, มักใช้เข้าคู่กับคำ พยัญชนะ เป็น สูปพยัญชนะ หมายความว่า กับข้าว. (ป., ส.).
ประถม
หมายถึงว. ปฐม, ลำดับแรก, ลำดับเบื้องต้น, เช่น ประถมศึกษา ชั้นประถม; ชั้นที่ ๑, เรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นที่ ๑ ในตระกูลช้างเผือกและมงกุฎไทยว่า ประถมาภรณ์ช้างเผือก ประถมาภรณ์มงกุฎไทย. (ส.).
ปฏิการ,ปฏิการ-,ปฏิการะ
หมายถึง[ปะติการะ-] น. การสนองคุณ, การตอบแทนคุณ, คู่กับ อุปการะ; การซ่อมแซม. (ป.).