ค้นเจอ 546 รายการ

ลูกหนู

หมายถึงน. ส่วนที่นูนขึ้นบนกล้ามเนื้อเวลาเอามือดึงหรือฟันที่แขน, ต่อมนํ้าเหลืองที่โตขึ้นและคลำได้เป็นก้อนบริเวณใต้หูใต้ขากรรไกรล่างและใต้คาง.

ตาปลา

หมายถึงน. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า.

มะขามเปียก

หมายถึงน. เนื้อมะขามเปรี้ยวที่แก่เกราะ นำมาปั้นเป็นก้อนเก็บไว้ใช้ปรุงอาหาร.

บรรทับ

หมายถึง[บัน-] (โบ; กลอน) ก. ประทับ เช่น ถนอมบรรทับออมชม ทราบเนื้อ. (ทวาทศมาส).

หูฉลาม

หมายถึงน. ชื่ออาหารคาวแบบจีน ปรุงด้วยครีบหรือกระโดงปลาฉลาม เนื้อปู เป็นต้น.

ธาตุ

หมายถึง[ทาด] (วิทยา) น. สารเนื้อเดียวล้วนซึ่งประกอบด้วยบรรดาอะตอมที่มีโปรตอนจำนวนเดียวกันในนิวเคลียส.

เบื้อ

หมายถึงน. สัตว์ป่าทั่วไป, คู่กับ สัตว์บ้าน เช่น เนื้อเบื้อนาเนกลํ้า หลายพรรณ. (นิ. นรินทร์).

ลอยแก้ว

หมายถึงน. ของหวานทำด้วยเนื้อผลไม้รสเปรี้ยวลอยในนํ้าเชื่อมเจือเกลือเล็กน้อย เช่น ส้มลอยแก้ว กระท้อนลอยแก้ว.

เผละ

หมายถึง[เผฺละ] ว. เสียงอย่างเสียงสาดโคลน; โดยปริยายหมายความว่า ไม่เป็นที่เป็นทาง เช่น โยนเผละ ทิ้งเผละ; ลักษณะเนื้อของคนอ้วนที่กระเพื่อม เรียกว่า เนื้อเผละ; ลักษณะที่ของข้น ๆ ที่ไหลล้นเลอะเทอะ ในคำว่า ไหลเผละ.

เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ

หมายถึง(สำ) ก. โต้ตอบหรือทะเลาะกับคนพาลหรือคนที่มีฐานะต่ำกว่า เป็นการไม่สมควร, บางทีใช้เข้าคู่กับ เอาเนื้อไปแลกกับหนัง ว่า เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ เอาเนื้อไปแลกกับหนัง, เอาทองไปรู่กระเบื้อง ก็ว่า.

ปูจ๋า

หมายถึงน. ชื่อกับข้าวอย่างหนึ่ง เอาเนื้อปูผสมเครื่องกับไข่แล้วใส่กระดองปูนึ่งหรือทอด.

พฤติกรรม

หมายถึงน. การกระทำหรืออาการที่แสดงออกทางกล้ามเนื้อ ความคิด และความรู้สึก เพื่อตอบสนองสิ่งเร้า.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ