ค้นเจอ 276 รายการ

อสัญแดหวา

หมายถึง[อะสันยะแดหฺวา] น. เทวดาต้นตระกูลของกษัตริย์ ๔ นครในบทละครเรื่องอิเหนา คือ องค์ปะตาระกาหลา, ชื่อวงศ์กษัตริย์ผู้ครอง ๔ นครในบทละครเรื่องอิเหนา ได้แก่ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และสิงหัดส่าหรี. (ช.).

ไมยราพณ์, มัยราพณ์ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

ไมยราพ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

ออกงาน

หมายถึงก. ไปปรากฏตัวในงานสังคม; (โบ) แสดงแก่ประชาชนหรือสังคมครั้งแรก (ใช้แก่วงมหรสพ โขน ละคร สตรีสาว).

จับมือ

หมายถึงก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวาของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตามในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนาแหล่งน้ำ.

เสียหูเสียตา

หมายถึงก. สูญเสียหูและตาไป, โดยปริยายหมายความว่า ไม่อยากดูไม่อยากฟัง เช่น ละครไม่มีคุณภาพอย่างนี้ ฉันไม่ดูให้เสียหูเสียตาหรอก.

ถวาย

หมายถึง[ถะหฺวาย] ก. ให้, มอบให้, เช่น ถวายของ (ใช้แก่พระสงฆ์หรือเจ้านาย); ให้ดู, ให้ชม, เช่น รำถวายมือ เล่นถวายตัว, แผลงเป็น ดงวาย หรือ ตังวาย ก็ได้.

สนับเพลา

หมายถึง[-เพฺลา] น. กางเกงชั้นในมีขายาวประมาณครึ่งแข้งแล้วนุ่งผ้าโจงกระเบนทับอย่างตัวละคร, (ราชา) พระสนับเพลา.

เหย่อย

หมายถึง[เหฺย่ย] น. การเล่นเพลงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของไทย ผู้เล่นร้องกลอนสดและรำประกอบ ภายหลังมีกลองยาวประกอบด้วย มักเล่นในบางเทศกาลเช่นฤดูเกี่ยวข้าว.

เลิกทัพ

หมายถึงก. ยกทัพกลับ เช่น ไพรีมิได้แจ้งแห่งยุบล ให้เลิกทัพกลับพลรีบหนีไป. (เพลงในละครเรื่องสามก๊ก).

แม่ศรี

หมายถึงน. ชื่อการละเล่นสมัยโบราณอย่างหนึ่ง โดยเชิญผีแม่ศรีมาเข้าทรงหญิงสาว หญิงสาวที่ถูกผีเข้าทรงจะรำได้อย่างสวยงาม นิยมเล่นในเทศกาลสงกรานต์.

ลงทุน

หมายถึงก. นำเงินหรือทรัพย์สินเป็นทุนเพื่อประกอบธุรกิจ, โดยปริยายหมายความว่า ยอมทำสิ่งที่ยากและไม่น่าจะทำได้ เช่น เขาลงทุนโกนหัวแสดงละคร.

ลูกบท

หมายถึงน. เพลงเล็ก ๆ ที่บรรเลงต่อจากเพลงใหญ่; เรียกลิเกที่ผู้แสดงเป็นตัวพระตัวนางไม่เข้าเครื่องอย่างโขน ละครหรือลิเกทรงเครื่อง ว่า ลิเกลูกบท.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ